พาราสาวะถี

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    ตั้งใจว่าจะไม่เขียนถึงกรณีสมาคมวิชาชีพเรียกร้องความรับผิดชอบจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา อีกแล้ว หลังเจ้าตัวโบกมืออำลาหน้าจอชั่วคราว แต่บังเอิญช่วงสุดสัปดาห์มีความเห็นของผู้คนหลากหลายโดยเฉพาะ 2 รายที่ถือว่าเป็นระดับด๊อกเตอร์ที่คนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตคนทำสื่อ

  • ข่าวบริษัทจดทะเบียน

    พาราสาวะถี

    พฤติกรรมอย่างนี้ถามว่าผู้มีอำนาจยังจะไว้วางใจให้ทำหน้าที่ต่อไปหรือเพิ่มอำนาจให้อีกหรือ หลังจากที่ปรากฏข่าวองค์กรอิสระอย่างกกต.ประชุมลับสุดยอด ก่อนที่จะมีมติฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เรียกเงิน 4,800 ล้านบาท โดยให้แบ่งกันจ่ายฝ่ายละครึ่งคือ ม็อบกปปส.และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐแต่เพียงผู้เดียว

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    แน่นอนว่าจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อปลดล็อกปมปัญหาการทำประชามติ โดย วิษณุ เครืองาม ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมร่วมครม.-คสช.ว่าจะแก้ไขใน 5 ประเด็น ที่ชัดเจนไม่ต้องตีความคือ การนับคะแนนเสียงประชามติให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิและให้คิดคะแนนเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ โดยไม่นับคะแนนเสียงของผู้งดออกเสียง

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    ข้อสังเกตใดก็แล้วแต่หากเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลคสช.มักจะถูกมองว่าเต็มไปด้วยอคติ ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงและเป็นธรรม ดังนั้น คำเตือนจากพวกเดียวกัน น่าจะเป็นภาพสะท้อนได้ดีและตรงที่สุด เหมือนเช่นที่ กษิต ภิรมย์ สมาชิกสปท.และคนของพรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงผลงานของรัฐบาลคสช.

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    ถอดรหัสการเมืองว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ผนวกเข้าไปด้วย 16 ข้อเสนอของครม.และคำอธิบายงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา น่าจะสะท้อนแนวคิดและมุมมองของคณะรัฐประหารและบรรดาเนติบริกรได้เป็นอย่างดีว่า กองทัพคือผู้เสียสละและความเห็นแตกต่างในสังคมประชาธิปไตยเป็นความไม่สงบ จึงต้องเปลี่ยนให้ทุกอย่างเรียบร้อยราบคาบ

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    อยู่ภายใน “สังคมคนดี” ปกครองประเทศย่อมเป็นเช่นนี้ เวลานี้มี 2 กรณีที่คนคงตั้งคำถามไปยังรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานที่ดี เป็นแบบอย่างไม่ให้ “นักการเมืองเลว” ใช้เป็นข้ออ้างในอนาคต กรณีแรกเป็นเรื่องของ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฎหมายเขียนจดหมายด้วยลายมือตัวเองส่งไปให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อพิจารณาพักโทษผู้ต้องขังรายหนึ่ง

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    สองเนติบริกรจากฝ่ายรัฐบาลและกรธ.คุยกัน (ความจริงแล้วควรเรียกว่ามือกฎหมายประจำคสช.ทั้งคู่) สาระสำคัญคือข้อเสนอ 16 ข้อโดยเฉพาะข้อ 16 ของครม. วิษณุ เครืองาม ยืนยันไม่ใช่ข้อบังคับที่จะต้องให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทำตาม ขณะที่ มีชัย ฤชุพันธุ์ ก็ย้ำอะไรที่บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ก็จะเขียนไว้ในบทเฉพาะกาล

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    อธิบายให้กระจ่างชัดไม่ใช่บังคับใช้รัฐธรรมนูญ2-3ขยัก แต่เป็นการพักใช้บางมาตราที่กำหนดห้วงระยะเวลาไว้เบ็ดเสร็จ 5 ปี คำยืนยันของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่นนี้คงไม่มีใครตั้งคำถามต่อ เพราะนี่คือเจตนาในการจะรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ทั้งๆ ที่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาแตะมือรัฐบาลจากรัฐประหารแล้วก็ตาม หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติและนำไปสู่การเลือกตั้ง

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    ไม่ต้องไปถอดรหัสอะไรให้ยุ่งยาก “เขาอยากอยู่นาน” ที่หลุดมาจากปากของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ หมายถึงใคร อยู่ในยุคพ.ศ.นี้แม้แต่เด็กอมมือยังอ่านออก ยิ่งตอกย้ำด้วยข้อเสนอที่ 16 ที่ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนแอบกระซิบเหมือนคราวคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดดอกเตอร์ปื๊ด น่าจะเป็นภาพสะท้อนของการเสพติดอำนาจได้เป็นอย่างดี

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี

    ไม่รู้ว่าจะได้รับดอกไม้หรือก้อนอิฐ กรณีการให้สัมภาษณ์ของ ทักษิณ ชินวัตร กับสื่อต่างชาติ2สำนักทั้งวอลสตรีทเจอนัลและไฟแนนเชียลไทม์ ต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เพราะทันทีที่มีข่าวออกมาคนในรัฐบาลต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันคือ ไม่เจรจา ไม่พูดถึงคนที่หนีคดี แน่นอนว่าประเด็นนี้เป็นชนักปักหลังและทำให้พวกไม่เอาระบอบทักษิณเห็นดีเห็นงามกับผู้มีอำนาจทันที

Back to top button