ข่าวต่างประเทศ
-
น้ำมันดิบเบรนต์ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 42 เตือนสถานการณ์ในตลาดน้ำมันจะเลวร้ายลงอีก
รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันปรับตัวลงอีกครั้งเมื่อวันพุธ น้ำมันดิบเบรนต์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2542 เนื่องจากน้ำมันดิบยังล้นตลาดและการระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้ดีมานด์น้ำมันทุกชนิดล่มสลาย นักวิเคราะห์เตือน สถานการณ์ในตลาดน้ำมันจะเลวร้ายลงอีก
-
รายงาน : ตราสารน้ำมันดิบติดลบ มีความหมายอย่างไร ?
ราคาตราสารน้ำมันดิบสหรัฐต่ำกว่าศูนย์ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันจันทร์ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และเป็นสัญญาณร้ายที่เกิดจากการมีน้ำมันมากเกินไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระงับการเดินทางและจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
-
ตราสารน้ำมันดิบสหรัฐเด้งกลับแดนบวก ‘ทรัมป์’ เล็ง หยุดนำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุ
รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฟื้นตัวมาซื้อขายในแดนบวกเมื่อวานนี้หลังจากที่ดิ่งต่ำกว่าศูนย์เป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ยังคงลดลงเนื่องจากดีมานด์น้ำมันดิบซบเซาท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา ด้าน “ทรัมป์” กำลังพิจารณาหยุดนำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุดีอาระเบียเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐ
-
ข่าวย่อย : ข่าวต่างประเทศ
‘นิสสัน’ ปิดสนง.ทั่วโลกชั่วคราว, ‘คิม จอง อุน’ ไม่ได้ป่วยรุนแรง, ‘ดิสนีย์’ หยุดจ่ายเงินให้คนงาน
-
ข่าวย่อย : ต่างประเทศ
จีนลดดอกเบี้ยมาตรฐานตามคาด เทมาเส็กโต้รายได้เมียนายกฯไม่ถึง 100 ล้าน สหรัฐผ่อนผันภาษีให้ผู้นำเข้า
-
การส่งออกญี่ปุ่นลดลงในรอบเกือบสี่ปี ‘อาเบะ’ อัดฉีดแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม
รอยเตอร์ - การส่งออกของญี่ปุ่นลดลงมากสุดในรอบเกือบสี่ปีในเดือนมีนาคม การส่งออกไปยังสหรัฐลดลงในอัตราที่รวดเร็วสุดนับแต่ปี 2554 ย้ำให้เห็นความเสียหายที่โควิด-19 มีต่อการค้าและดีมานด์โลก รัฐบาลเพิ่มแผนกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ประมาณ 8% เป็น 1.1 ล้านล้านดอลลาร์
-
สัญญาน้ำมันดิบสหรัฐดิ่งถึง 21% แตะ 14.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล-ต่ำสุดนับตั้งแต่มีนา 42
รอยเตอร์ - ตราสารน้ำมันดิบปรับตัวลงต่อเมื่อวันจันทร์ โดยตราสารน้ำมันดิบสหรัฐได้ลดลงถึง 21% ในช่วงหนึ่ง โดยแตะระดับ 14.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2542 ทั้งนี้เป็นเพราะว่าดีมานด์ลดลงและมีความกังวลเกี่ยวกับการสต๊อกน้ำมันในสหรัฐ นักวิเคราะห์มองแนวโน้มราคาน้ำมันยังลดลงต่อ
-
เตือนเศรษฐกิจโลกอาจเกิด ‘ภาวะถดถอยซ้ำซ้อน’
บีบีซี - “อีไอยู” ชี้ เศรษฐกิจโลกอาจเผชิญกับ “ภาวะถดถอยซ้ำซ้อน” (double recession) ตามมา หลังจากที่ได้เผชิญภาวะถดถอยที่เลวร้ายกว่าช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) แล้ว โดยหนี้ที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจทำให้วิกฤติรุนแรงมากขึ้นและเกิดภาวะถดถอยซ้ำซ้อนสำหรับบางประเทศ
-
เศรษฐกิจจีนหดตัวครั้งแรกนับแต่ปี 2535 จีดีพีไตรมาสหนึ่งลดลง 6.8% – มากกว่าที่คาดไว้
รอยเตอร์ - การระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้เศรษฐกิจจีนหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2535 ในช่วงไตรมาสหนึ่ง โดยจีดีพีโตลดลง 6.8% มากกว่าที่คาดไว้ 0.3% เพิ่มแรงกดันให้รัฐบาลจีนดำเนินมาตรการเพิ่มเพื่อยับยั้งการว่างงาน
-
ข่าวย่อย : ข่าวต่างประเทศ
ยา ‘เรมเดซิเวียร์’ ช่วยผู้ป่วยโควิดฟื้นเร็ว, ‘ทรัมป์’ เผยคู่มือเปิดเศรษฐกิจ