ข่าวต่างประเทศ
-
“ราล์ฟ ลอเรน” ลดพนักงาน
บีบีซี บริษัทราล์ฟ ลอเรน คอร์ป จะลดตำแหน่งงานประมาณ 1,000 คน และปิดร้านค้า 50 แห่งตามส่วนหนึ่งของแผนการลดต้นทุนและฟื้นฟูการเติบโตของยอดขายแบรนด์แฟชั่นหรู ตำแหน่งงานที่จะลดจะเป็นพนักงานประจำประมาณ 8%
-
น้ำมันยืนเหนือ50 เหรียญ-หุ้นพลังงานพุ่งทั่วเอเชีย
ซีเอ็นบีซี ตลาดหุ้นเอเชียปิดผสมผสานทั้งบวกและลบเมื่อวานนี้ โดยมีปฏิกิริยาไม่มากนักต่อข้อมูลการค้าจีน แต่ภาคพลังงานได้รับแรงหนุนหลังจากที่ราคาน้ำมันพุ่งเหนือ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 11 เดือน
-
“ไอเอ็มเอฟ” แนะไทยลดดอกเบี้ย
บลูมเบิร์ก ไอเอ็มเอฟแนะไทยลดอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากเศรษฐกิจซบเซาและเงินเฟ้อต่ำ ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายเงินและนโยบายคลังแบบขยายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งมีแนวโน้มที่จะโตในอัตราที่ช้าลงกว่าประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3% ในปีนี้ และเพิ่มเป็น 3.2% ในปีหน้า
-
ข่าวย่อยต่างประเทศ
ข่าวย่อยต่างประเทศ
-
“เยลเล็น” มองแนวโน้มสหรัฐด้านบวก
รอยเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่ และกล่าวว่ากำลังจะขึ้นดอกเบี้ยแต่ไม่ได้บอกว่าเมื่อไหร่ นักเศรษฐศาสตร์มองในขณะนี้ว่า เดือนกรกฎาคมหรือกันยายนอาจจะเป็นเวลาที่น่าจะมีการเข้มงวดนโยบาย 0.25% มากที่สุด ส่วนเทรดเดอร์ในตลาดตราสารล่วงหน้าคาดว่าจะขึ้นในช่วงปลายปี
-
ตลาดหุ้นเอเชียทะยานขึ้น
ซีเอ็นบีซี ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นเมื่อวานนี้หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐมีความเห็นโดยทั่วไปในด้านบวก และธนาคารกลางในออสเตรเลียและอินเดียไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายดอกเบี้ย
-
ข่าวย่อยต่างประเทศ
อิหร่านส่งออกน้ำมันเร็วกว่าคาด, ปอนด์อ่อน-คนอังกฤษอยากออกจากอียู, บ.ถือหุ้นใหญ่อินเตอร์มิลาน
-
สหรัฐจี้จีนลดขีดความสามารถในการผลิตเหล็ก
บีบีซี ขุนคลังสหรัฐเรียกร้องให้จีนลดขีดความสามารถในการผลิตเหล็กกล้าเนื่องจากกำลังบิดเบือนตลาดทั่วโลกในการประชุมประจำปีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ขณะเดียวกันทั้งสองประเทศจะหารือเกี่ยวกับเงินหยวนและการต้อนรับบริษัทต่างชาติ
-
หุ้นวัตถุดิบดีดตัวแรงพร้อมโภคภัณฑ์
บลูมเบิร์ก หุ้นวัตถุดิบดีดตัวพร้อมกับโภคภัณฑ์หลังจากที่ข้อมูลจ้างงานสหรัฐส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยภายในเดือนกรกฎาคม ขณะเดียวกัน สกุลเงินเอเชียแข็งค่ารุนแรงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
-
“โอเปก” จะทำให้น้ำมันท่วมตลาดอีก
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เสร็จสิ้นการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาโดยตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายกำลังการผลิต นั่นคือสัญญาณว่ายังคงมีความร้าวฉานภายในกลุ่มโอเปกและมีความเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ในการผลิตน้ำมันอย่างเต็มที่กำลังทำงานที่จะให้ตลาดกลับมามีความสมดุลอีกครั้ง