พลวัต
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : บริษัทกูมี
ขอดัดแปลงคำพูดเรื่องเพลงประเทศกูมีอันโด่งดังมาใช้กับหุ้นบริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) หรือ EFORL หลังจากอ่านข่าวบริษัทนี้เพิ่มทุน 8.05 พันล้านหุ้น ขายผู้ถือหุ้นเดิม 4:1 ที่ 0.05 บ./หุ้น ด้วยข้ออ้างแสนง่ายดายว่าระดมทุนใช้ชำระหนี้-เงินทุนหมุนเวียน
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : ปตท.ก้าวสู่ตลาดรถ EV
ถือเป็นอีกก้าวกับการเข้าสู่ “ตลาดรถ EV” ชัดเจน.! เมื่อบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle :EV) กับ WM Smart Mobility Technology (Shanghai)…
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : เหยื่อ ‘Brexit’ หรือ ไม่ทันโลก ?
เมื่อสองสามวันที่ผ่านมาเราได้เห็นการล่มสลายของบริษัทท่องเที่ยวอังกฤษที่มีอายุยาวนานถึง 178 ปี อย่าง “โทมัส คุก” ไปอีกราย และได้มีการพูดถึงสาเหตุที่ทำให้บริษัทต้องถึงกาลอวสานลงอย่างน่าเศร้าไว้หลาย ๆประเด็น และหนึ่งในนั้นก็คือ Brexit และการบริหารงานที่ผิดพลาด
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : หลังรั่ว
คงไม่ช้าเกินไปที่จะพูดถึงมาตรการสกัดกั้นการเบี้ยวหนี้ที่เกิดจากการออกตราสารหนี้ซึ่ง ก.ล.ต. ออกมาตรการ “วัวหายล้อมคอก” ไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาทำให้เส้นทางทำมาหากินของบริษัทหลักทรัพย์ลำบากขึ้นเพราะโดนเตะสกัดขาในตลาดตราสารหนี้ทั้งที่ว่าไปแล้วไม่ได้เกิดจากการกระทำผิดของบริษัทที่เป็นคนกลางแต่อย่างใด
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : เฟดกับฟันด์โฟลว์ (จบ)
ตัวเลขล่าสุดของปีงบประมาณระบุว่าสหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณ 7.79 แสนล้านดอลลาร์ในปีนี้เพิ่มขึ้น 17% จากปีที่แล้วโดยมีสาเหตุจากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสู่ระดับ 21% จากระดับ 35% ก่อนหน้านี้ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มจากปีก่อน 3.0 แสนล้านดอลลาร์ทำให้รายจ่ายพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีแต่รายได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยซึ่งผิดคาดมากจากเดิมที่เชื่อในเหตุกันว่าการลดภาษีจะย้อนกลับมาทำให้รายได้ภาษีเพิ่มขึ้นตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เน้น “ใช้อุปทานสร้างอุปสงค์” ที่เคยใช้ได้ผลในยุคโรนัลด์ เรแกนเมื่อกว่า30 ปีก่อน
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : เฟดกับฟันด์โฟลว์ (1)
การตัดสินใจของเฟดจะส่งผลต่อฟันด์โฟลว์ในตลาดหุ้นไทยอย่างไร
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : สงครามตลาดน้ำมัน..ไม่มีวันจบ.!?
แม้ว่า “ซาอุดีอาระเบีย” ประกาศว่าเริ่มกลับมาผลิตน้ำมันแล้ว 40% หลังต้องหยุดผลิตประมาณ 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากกำลังการผลิตทั้งหมด 9.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงทันที แต่เชื่อว่า “สงครามราคาน้ำมัน” ไม่น่าจบลงกันแบบง่าย ๆ แน่นอน
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : น้ำมันจะพุ่งแรงแค่ไหน?
ตลาดพลังงานเกิดความวุ่นวายอีกครั้งหลังจากสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากบฏฮูตีในเยเมนใช้โดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันสองแห่งของบริษัทซาอุดี อารามโก จนทำให้ซัพพลายน้ำมันหายไปถึง 5.7 ล้านบาร์เรล สิ่งที่ทุกคนอยากรู้หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ คือราคาน้ำมันจะพุ่งรุนแรงขนาดไหน? และจะมีปฏิบัติการทางทหารหรือไม่?
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : ส้นเท้าอคิลลีสที่ซาอุ
ภาพยนตร์ฮอลลีวูดกลายเป็นต้นแบบนวัตกรรมสงครามยุคใหม่อีกครั้งหลังกลุ่มต่อสู้ในเยเมนที่รับการหนุนหลังจากอิหร่านใช้โดรนทางทหาร (เครื่องบินไร้คนขับบังคับจากรัศมีไกล) โจมตีแหล่งผลิตน้ำมันโรงกลั่นน้ำมันใหญ่ที่สุดในโลก Saudi Aramco มีผลทำให้น้ำมัน 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวันคิดเป็น 5% ของผลผลิตน้ำมันของโลกกระทบอุปทานการผลิตน้ำมัน ethane and natural gas liquids ในซาอุดีอาระเบียประมาณ 50%
-
คอลัมน์
พลวัตปี 2019 : กับดักหุ้น IPO Saudi Aramco
จากกรณี “ซาอุดีอาระเบีย” มีคำสั่งให้ปิดบ่อน้ำมันของ Saudi Aramco ที่ถูกโจมตีทั้ง 2 แห่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 50% ของกำลังการผลิตทั้งหมด การโจมตีนี้ส่งผลให้กำลังผลิตน้ำมันของประเทศซาอุดีอาระเบียหายไปประมาณ 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการผลิตทั้งหมด 9.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยมีการประเมินกันว่าต้องใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ ถึงจะกลับมาผลิตน้ำมันดิบได้ตามเดิม