พาราสาวะถี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เพิ่งดีใจกันไปได้แค่ 2 วันกับตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่พบว่าไม่เกินหลักร้อยราย แต่วันวานการแถลงของ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือศบค. กลับพบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 111 ราย ซึ่งก็เข้าใจได้เมื่อฟังคำอธิบาย ตัวเลขที่กระโดดขึ้นมานั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ที่กลับจากการไปร่วมงานทางศาสนาที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งพบผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากถึง 42 คน ส่งผลถึงจังหวัดที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ก่อนหน้าอย่างสตูล พบผู้ติดเชื้อ 15…
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
นับว่าสัญญาณดีที่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการแถลงของ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. ในช่วงสองวันที่ผ่านมาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ พบผู้ติดเชื้อ 51 รายในการแถลงวันที่ 6 เมษายน และ 38 รายในการแถลงวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมล่าสุดอยู่ที่ 1 ราย รวมเป็น…
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เริ่มกันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมากับประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลาสี่ทุ่มถึงตีสี่ทั่วประเทศ เพื่อหวังสกัดตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้ลดน้อยถอยลง อ่านสัญญาณจากการแถลงรายวันก็พอจะประเมินได้ว่าแนวโน้มน่าจะดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มแพร่และรับเชื้อก้อนใหญ่คือสนามมวยลุมพินีและสถานบันเทิง น่าจะตรวจสอบตามกระบวนการสอบสวนโรคได้ครอบคลุมมากที่สุดแล้ว หากหลังจากนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังมากอยู่เรื่องที่ท่านผู้นำขู่ว่าจะเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงคงไม่มีใครตื่นตระหนก ตกใจอีกแล้ว
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ทำไมตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยที่แถลงกันรายวันถึงยังไม่ต่ำกว่าหลักร้อย ไม่น้อยกว่าหลักสิบหรือหยุดนิ่งสนิทเหมือนช่วงเดือนกว่า ๆ ก่อนหน้านี้ คำตอบหาได้ง่ายมาก มันก็เกิดจากสนามมวยลุมพินีและสถานบันเทิงทั้งหลายในช่วงที่ไม่มีความร่วมมือตามคำสั่งของท่านผู้นำ เมื่อหนึ่งคนติดแล้วคนไปสุมหัวรวมตัวกันหลักร้อยหลักพัน มันย่อมแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการสอบสวนโรคจึงต้องเหนื่อยและหนัก และการรายงานประจำวันก็ชัดเจนในตัวเลขว่าคนป่วยส่วนใหญ่มีที่มาที่ไปอย่างไร
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ประเดิมประกาศเคอร์ฟิวเป็นจังหวัดแรกสำหรับนนทบุรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา โดยห้ามประชาชนในพื้นที่ออกจากเคหสถานหลังเวลา 23 นาฬิกาถึง 5 นาฬิกา มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ แต่คำถามก็คือเพื่อป้องกันการมั่วสุม รวมตัวกันของคนหมู่มากหลังจากที่สั่งให้ร้านสะดวกซื้อทำการเปิดปิดเป็นเวลาเดียวกันกับที่ประกาศเคอร์ฟิว คำถามคือแล้วช่วงเวลาที่เหลือประชาชนปฏิบัติตามการขอความร่วมมือเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing หรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไล่จัดระเบียบ ออกมาตรการตามหลังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มันจึงเป็นเรื่องเหนื่อยหน่ายสำหรับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ต้องถามว่าท้อไหม เพราะมันผิดตั้งแต่คิดเดินต่อหลังจากพ้นสภาพความเป็นหัวหน้าคสช.มาแล้ว หากตอนนั้นเลือกส่งไม้ต่อให้นักการเมืองอาชีพแล้วตัวเองหันหลังกลับบ้านไปพักผ่อน คงไม่ต้องมานั่งอมทุกข์แบบนี้ แต่เมื่อเลือกที่จะเดินบนถนนสายการเมืองแล้วเจอกับวิกฤติที่คาดไม่ถึง ก็ต้องแก้กันไปตามหนทางที่คิดว่าใช่ คิดว่า (ไม่) โดน(ด่า)
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หรือศบค. ที่ตั้งขึ้นมาตามการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งเป็นผู้อำนวยการและประชุมกันทุกวันตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมเป็นต้นมานั้น เดิมทีตั้งเป้าว่าจะเป็นศูนย์เดียวที่แถลงข่าวเรื่องสถานการณ์โควิด-19 วันละรอบ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ป้องกันการสับสนของประชาชน แต่สุดท้าย ต้องให้กระทรวงสาธารณสุขแยกตัวไปแถลงเรื่องตัวเลขผู้ป่วยรายวัน เพื่อป้องกันสื่อมวลชนที่จะแห่แหนกันไปยังทำเนียบรัฐบาลแค่จุดเดียว
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
นับถอยหลังกันไปเรื่อย ๆ กับระยะเวลาที่เหลือของการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีศบค.เป็นศูนย์บัญชาการแก้ปัญหามี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งบัญชาการ เรื่องเงื่อนเวลาคงไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะสามารถยืดอายุออกไปได้เหมือนการบังคับใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หัวใจหลักสำหรับวันนี้คือ เมื่อใช้กฎหมายเฉพาะและเชื่อว่าจะเด็ดขาด มันสามารถคุมให้สถานการณ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ประเดิมประชุมนัดแรกไปแล้วช่วงเช้าวันวานสำหรับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือศบค.โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ย้ำกับที่ประชุมว่า “จำเป็นต้องใช้ยาแรง” ซึ่งน่าจะสวนกับความรู้สึกของประชาชน ที่อยากจะบอกว่าควรจะต้องใช้มาตั้งนานแล้ว กลายเป็นว่ามาตรการเข้มข้นที่ประกาศก่อนหน้าตามมาด้วยการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเรื่องของการตัดสินใจช้ากว่าปัญหา ดำเนินการตามหลังวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไม่ต้องรอลุ้นถึงวันนี้ว่า มาตรการของรัฐบาลจากการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นจะออกมาแบบไหน เพราะ วิษณุ เครืองาม ได้ตั้งโต๊ะแถลงไปแล้วเมื่อเย็นวานนี้ โดยเป็นข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับที่ 1 ซึ่งยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว ประชาชนยังคงสามารถเดินทางใช้ชีวิตได้เกือบปกติ แต่มีมาตรการพึงปฏิบัติสำหรับคน 3 ประเภทคือ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน…