พาราสาวะถี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
การเมืองไทยในห้วงความขัดแย้งกว่า 10 ปีที่ผ่านมา วาทกรรมที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อล้มล้าง ทักษิณ ชินวัตร และเครือข่ายอย่างต่อเนื่องคือ “ระบอบทักษิณ” กับ “ทุนสามานย์” ซึ่งเมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปก็ได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่ผลิตซ้ำทางความคิดกันขึ้นมานั้นหาได้มีอยู่จริงไม่ หรืออาจจะมีอยู่แต่ก็เพียงเล็กน้อย เพราะสิ่งที่ผุดเป็นวาทกรรมกันขึ้นมานั้น เป้าหมายเพื่อทำลายความชอบธรรมในการบริหารประเทศของทักษิณและเครือข่าย รวมทั้งทำลายการคงอยู่ของพรรคนอมินีที่อยู่กันจนถึงทุกวันนี้เท่านั้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันศุกร์ที่ผ่านมาสองพี่น้องตระกูลป. มีวลีเด็ดผ่านสื่อคนละประโยค โดย “พี่ใหญ่” พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ฉุนที่นักข่าวถามเรื่องผู้ใหญ่ในกองทัพยอมเอาทหารเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ในบ้านว่า “ถามแต่เรื่องบ้าบออะไรไม่รู้” ขณะที่ “น้องเล็ก” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็แถลงกับนักข่าวปมยุบสภาด้วยท่วงทำนองที่ไม่ค่อยพอใจว่า “ผมคงไม่โง่ที่จะประกาศยุบสภาผ่านสื่อ” นี่คืออารมณ์ของผู้นำที่ถนัดการสั่งซ้ายหันขวาหัน มีแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่คอยพูด “ดีครับท่าน” มาทั้งชีวิต
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ชื่นมื่นกันไปกับการกินข้าวมื้อค่ำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพรรคร่วมรัฐบาล งานนี้ก็อย่างที่ปรากฏเป็นข่าว มีการเดินทักทายทุกโต๊ะ โดยเฉพาะพรรคจิ๋วที่ได้รับตำแหน่งส.ส.เอื้ออาทรจากการคำนวณสูตรปาร์ตี้ลิสต์แบบพิสดาร สุดท้ายจบลงด้วยการที่จะไม่มีฝ่ายค้านอิสระในสภาอีกต่อไป โดยมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ และ พิเชษฐ สถิรชวาล สองคู่หูดูโอ อ้างพิธีกรรมของพรรคสร้างภาพความชอบธรรม ก่อนกลับไปร่วมรัฐบาลในต้นปีหน้า
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ถามว่าความขัดแย้งภายในพรรคเพื่อไทยมีอยู่จริงหรือไม่ มีจริง แต่รุนแรงถึงขนาดที่เป็นข่าวหรือเปล่า ไม่ถึงขนาดนั้น แล้วเหตุไฉนมันถึงถูกจุดพลุเป็นประเด็นขยายแผลกันสนุกสนาน นั่นเป็นเพราะคุณแหล่งข่าวช่วยกันขยี้ตีไปที่ตัวบุคคล ซึ่งมันชวนให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นจริง เพราะส.ส.อีสานกับ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไม่กินเส้นกันมาแต่ไหนแต่ไร ไม่มีมูลเหตุอย่างอื่นที่เป็นความไม่พอใจระหว่างกันเป็นเรื่องของจัดสรรปันส่วนเก้าอี้ล้วน ๆ ทั้งในส่วนของงานฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันนี้ห้าโมงครึ่ง แดดร่มลมตก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ นัดพรรคร่วมรัฐบาลรับประทานอาหาร ที่สโมสรราชพฤกษ์ ถนนวิภาวดีรังสิต เป้าใหญ่เพื่อเคลียร์ใจในประเด็นที่แต่ละพรรคค้างคาใจต่อกัน ความจริงที่ปีนเกลียวเหยียบตาปลากันก็มีแค่พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยเท่านั้น ส่วนพรรคอื่น ๆ ที่เหลือ เมื่อมีพลังไม่มากพอก็ต้องยอมหงออยู่ใต้อาณัติแต่โดยดี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
หมดช่วงโปรโมชั่นกันเร็วเหลือเกินสำหรับรัฐบาลสืบทอดอำนาจ วันนี้จับคู่เหยียบตาปลากันระหว่างพรรคร่วมในหลายเรื่อง พลังประชารัฐกลับมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ตบหน้าภูมิใจไทยที่แข็งขันต่อการแบน 3 สารพิษ และในเรื่องเดียวกันยังมีปมปัญหาซ้อนคือ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีช่วยเกษตรและสหกรณ์จากภูมิใจไทย แต่ไปรายงานผลศึกษาก่อนจะไปบอกที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จากพรรคประชาธิปัตย์
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไม่จำเป็นต้องแก้ต่างหรืออธิบายอะไรกับสังคม กับกรณีสภาล่มสองครั้งติดต่อกันตั้งแต่ค่ำวันพุธที่ 27 ต่อเนื่องเช้าวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ฝ่ายรัฐบาลแพ้โหวตฝ่ายค้านไป 4 เสียง จากการเสนอญัตติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของคสช.และการใช้อำนาจของหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ที่เสนอโดย ปิยบุตร แสงกนกกุล จากพรรคอนาคตใหม่ และ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย จากประชาธิปัตย์
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เป็นอันว่าชื่อของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ถูกเสนอมาจากพรรคประชาธิปัตย์ให้ไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับสืบทอดอำนาจ) ด้วยเหตุผลว่า ไร้การตอบรับจากพรรคร่วมรัฐบาลในการที่จะผลักดันให้อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคเก่าแก่ให้นั่งเป็นประธานกรรมาธิการ ฟังคำชี้แจงจาก จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคก็อ้างว่า เมื่อไร้สัญญาณตอบรับถ้าส่งชื่อมาร์คไปก็เท่ากับเสียของสูญเปล่า
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันนี้ถ้าไม่มีอะไรมาแทรก เราคงจะได้เห็นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติด่วนที่ค้างเติ่งมาหลายสัปดาห์ว่าด้วยการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับสืบทอดอำนาจ) โดยจำนวนกรรมาธิการนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงเคาะกันที่ 49 คน ส่วนที่ยังเป็นประเด็นคือ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ประธานกรรมาธิการชุดนี้หวยจะออกที่คนของพรรคพลังประชารัฐหรือประชาธิปัตย์
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ยังวนเวียนอยู่กับคำถามเดิม ๆ และอาจชวนให้เบื่อหน่ายว่า ประเทศไทยก้าวข้ามวังวนความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหารของเผด็จการคสช.แล้วหรือไม่ การเข้ามาของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้บ้านเมืองสงบสุขอย่างแท้จริงแล้วใช่ไหม หากยึดคำตอบในแง่ของการไร้ม็อบออกมาเคลื่อนไหวตามท้องถนน คนทั่วไปก็คิดเช่นนั้น แต่พิจารณาในมุมของข้อคิด ความเห็นของคนซีกการเมือง หลังเลือกตั้งนับวันยิ่งดูเหมือนว่าความขัดแย้งมันเริ่มก่อรูปขึ้นมาใหม่ ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้มีโอกาสที่มันจะลุกลามต่อไปได้