พาราสาวะถี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
หากถอดคำพูดระหว่างบรรทัดในการแถลงข่าวหลังประชุมครม.เมื่อวันอังคารของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะทำให้เราเห็นเหตุผลที่จะใช้อธิบายเมื่อยามที่จะกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกกระทอก รวมทั้งความพยายามในการที่จะอยู่ในอำนาจให้นานที่สุด โดยอ้างถึงเรื่องของแผนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย อย่างที่เคยบอกไว้ตั้งนานแล้วว่าให้เขียนข่าวรอแปะข้างฝาไว้ได้เลย คนในรัฐบาลนี้ไล่ตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปจนถึงรัฐมนตรีที่มาจากสายการเมืองเก่าอันนำโดย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จะไปร่วมงานกับพรรคการเมืองซึ่งก็คือพลังประชารัฐอย่างแน่นอน ความจริงไม่ควรบอกว่าไปร่วมงานเพราะร่วมกันก่อตั้งพรรคมาตั้งแต่ต้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ส่งสัญญาณกันมาหลายระลอก แต่การย้ำหนล่าสุดของ วิษณุ เครืองาม เท่ากับเป็นการยืนยันคำตอบที่ว่ามีบางพรรคการเมืองอันหมายถึง พลังประชารัฐ จะมีรัฐมนตรีในรัฐบาลคสช.ไปนั่งกุมบังเหียนเป็นทั้งหัวหน้าพรรค เลขาธิการ และคงจะมีอีกหลายตำแหน่ง น่าจับตาคือประธานที่ปรึกษาพรรค จะมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบรับคำเชิญร่วมสังฆกรรมเพื่อปูทางสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรี สืบทอดอำนาจแบบสวย ๆ หรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
สมกับเป็นข้าราชการยุคเผด็จการจริง ๆ สิ่งที่ สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ชี้แจงกับนักข่าวต่อกรณีสหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย ยื่นข้อเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนช. เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ โดยขอให้สนช.สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อทำให้ข้าราชการบำนาญมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลว่าค่าครองชีพสูงขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ได้รับ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ฟัง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดที่จังหวัดเลยเมื่อวันจันทร์ นี่แหละท่วงทำนองของนักการเมืองขนานแท้และดั้งเดิม การบอกว่า “ผมไม่ใช่นักการเมืองตอนนี้ ผมทำหน้าที่งานการเมืองให้ท่าน” ดูเหมือนจะดี แต่ก็หนีไม่พ้นการทวงบุญคุณ แสดงตัวเป็นผู้เสียสละ หากไม่เล่นลิ้นก็ประกาศไปว่า “ผมจะไม่สืบทอดอำนาจ” ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามให้ชัด ๆ กันไปเลย
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ปล่อยให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 โชว์ฝีปาก ออกมาแอ็คชั่นกันไป แต่คนที่ใช้ตำแหน่งผบ.ทบ.ก่อการรัฐประหารอย่าง “บิ๊กบัง” พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กลับเก็บตัวเงียบไม่ปริปากใด ๆ ตรงนี้ก็พอจะเข้าใจได้ถ้าย้อนกลับไปพิจารณาถ้อยคำของบิ๊กบังที่เปิดใจหลังพ้นอำนาจ การเคลื่อนพลล้มรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เวลานั้น “บางอย่างพูดไม่ได้ต้องให้ตายไปกับตัวเอง”
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันนี้ย้อนไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วเกิดคณะรัฐประหารที่ชื่อว่าคมช.ภายใต้การนำของ “บิ๊กบัง” พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจจาก พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่อยู่ระหว่างการเดินทางไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ทำให้ไทยถูกยกเป็นประเทศแม่แบบในการพัฒนาประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียนไปด้วย
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ประกาศอย่างภาคภูมิใจและโชว์เป็นผลงานของรัฐบาลคสช. กับไทยแลนด์ 4.0 แต่พอเห็นท่าทีทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงที่ห้ามพรรคการเมืองดำเนินการผ่านโซเซียลมีเดีย ผลงานที่อ้างว่ามีดีเป็นรัฐบาลเผด็จการดิจิทัล พอเปลือยธาตุแท้ออกมาก็เป็นได้แค่เผด็จการ 0.4 ประชาธิปไตยที่อ้างว่ามีมากถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ ก็แค่ลมปากคุยโวเท่านั้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
คสช.คลายล็อกให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม (บางอย่าง) ได้แล้ว แต่ยังมีคำถามตามมาอีกพะเรอเกวียน โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ แม้จะได้โอกาสในการหายใจหายคอบ้าง แต่มันก็ยังไม่คล่องตัวแบบลื่นปรื๊ด เพราะเอาเข้าจริงสิ่งที่คสช.ดำเนินการเป็นเพียงการแก้ปัญหาชีวิตให้กับพรรคเล็กพรรคเกิดใหม่เสียมากกว่า
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. นั่นหมายความว่า กฎหมายสองฉบับที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแมปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สิ่งที่ผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการตามสัญญาเป็นการเบื้องต้นคือการคลายล็อกก่อนจะนำไปสู่การปลดล็อก