พาราสาวะถี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เป็นไปตามนั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจหรือคนร.ฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยมี 2 ประเด็นสำคัญคือ ให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในการบินไทยจาก 51 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 48 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้การฟื้นฟูกิจการมีความคล่องตัวมากขึ้น สัดส่วนหุ้นที่ลดลงจะถูกขายต่อให้กองทุนวายุภักษ์เข้ามาถือหุ้นแทน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไม่ว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศไทยจะเป็นศูนย์หรือไม่ นั่นไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าเราประสบความสำเร็จในการป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว หากแต่ถ้าประชาชนยังคงให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตัวในการเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด ไม่จำเป็นต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ต้องมีเคอร์ฟิว ก็เชื่อได้เลยว่า สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล ถ้าประชาชนไม่รามือถ้าภาครัฐไม่การ์ดตก ทุกคนก็อุ่นใจได้
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนำคณะกรรมการศบค.ลงพื้นที่ตรวจห้างสรรพสินค้า เพื่อดูความพร้อมในการรับการผ่อนปรนระยะที่ 2 ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ดี เห็นมาตรการที่จะบังคับใช้กับห้างที่จะเปิดแล้วต้องบอกว่าเข้มงวดทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้รับบริการจริง ๆ เช่น การจัดให้มีระบบถ่ายเทอากาศภายในอาคารมากกว่า 10 เท่าต่อชั่วโมง หรือ 10 ACH และทำการอบฆ่าเชื้อระบบปรับอากาศส่วนกลางเป็นประจำทุกคืนด้วยรังสี…
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
สิ่งที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างในการแถลงข่าวหลังการประชุมครม.เมื่อวันอังคารว่าไม่ได้สั่งให้กอ.รมน.ไปทำโพลถามความเห็นประชาชนว่าถึงเวลายกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วหรือยัง แต่กลับมีการยกโพลของสื่อบางสำนักมาอ้างว่า มีชาวบ้านถึง 88 เปอร์เซ็นต์ที่หนุนให้คงพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป ถามว่าอย่างนี้จะเรียกโพลยกเมฆหรือโพลเชลียร์ได้ไหม เพราะการไม่บอกที่มาว่าเป็นสื่อไหนคนส่วนใหญ่ย่อมเกิดคำถามและมีผลต่อความน่าเชื่อถือ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วานนี้เป็นวันสุดท้ายที่ศบค.เปิดรับฟังความคิดเห็นผลของการประเมินมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 1 เพื่อรวบรวมนำไปสู่การปลดล็อกในระยะที่ 2 โดยที่วันนี้จะมีการประเมินผลรวมไปถึงการเตรียมมาตรการเพื่อออกเป็นมาตรการใช้สำหรับกิจกรรมกิจการที่จะผ่อนปรนในเฟส 2 โดยก่อนที่จะประกาศผ่อนปรนที่วางกันไว้ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ จะมีการใช้เวลาที่เหลือ 2-3 วันนี้ หากลุ่มตัวอย่างหรือพื้นที่ทดลองเปิดหรือ Sandbox เช่น ห้างสรรพสินค้า
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดีวันดีคืน ถึงขนาดที่เตรียมจะผ่อนปรนในเฟสสองกันไว้แล้ว เป้าหมายหลักก็คือห้างสรรพสินค้าและร้านค้าภายใน แต่คงไม่ใช่การเปิดให้บริการเหมือนที่ผ่านมา ต้องมีกติกาที่วันก่อน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แง้มมาบ้างแล้ว คือ จำกัดจำนวนคนเข้าไปใช้บริการในแต่ละรอบ ให้ใช้บริการได้ไม่เกินคนละ 2 ชั่วโมง โดยที่เจ้าของกิจการจะต้องมีมาตรการในการป้องกันการแพร่และรับเชื้ออย่างเคร่งครัด
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เกิดปุจฉากันจำนวนไม่น้อยเว้นแต่คอสุรา กรณีที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมเป็นต้นมา ทั้งที่ความจริงกรณีนี้น่าจะเป็นระยะสุดท้ายที่จะได้รับการผ่อนปรน เหมือนอย่างคำถามที่เกิดขึ้นจาก นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ ที่ผ่านมาการไม่ให้ขายเหล้าไม่มีใครเดือดร้อนยกเว้นเศรษฐกิจที่กระทบ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เห็นผู้คนหลั่งไหลกลับต่างจังหวัดโดยเฉพาะถนนสายมิตรภาพ ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ คนจำนวนไม่น้อยอัดอั้นกับการไม่ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงสงกรานต์ พอหยุดยาวเที่ยวนี้บวกกับการสื่อสารของรัฐบาลที่ไม่ได้ตอกย้ำเรื่องการห้ามเดินทางข้ามจังหวัด มันจึงทำให้เกิดภาพดังกล่าวขึ้น ซึ่งก็คงต้องหยวน ๆ กันไป สุดท้ายก็ไปวัดเอาในช่วงหลังจากนี้ 7-14 วัน พื้นที่ต่าง ๆ จะมีตัวเลขของผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร นั่นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามาตรการคลายล็อกและการผ่อนคลายความเข้มงวดของภาครัฐได้ผลหรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
สามวันติดกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันรายใหม่ที่อยู่ในหลักต่ำสิบ ถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ ทำให้ทุกฝ่ายอุ่นใจได้ แต่อย่างที่ย้ำว่า ไม่สามารถเบาใจหรือไว้วางใจได้ ตัวอย่างมีให้เห็นแล้วในหลายประเทศ การ์ดตก ย่อหย่อน ผ่อนปรนกันแล้ว ประชาชนไม่รักษาวินัย ไม่ปรับเปลี่ยนสู่การใช้วิถีชีวิตแบบใหม่ การระบาดในระลอก 2 และ 3 จะตามมาทันที นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลโดยศบค.ประเมินกันอย่างรัดกุม โดยอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุขเป็นสำคัญ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ความจริงมันก็ต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว กับกรณีที่ประชุมครม.มีมติไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของศบค.ต่อการให้ยกเลิกวันหยุดนักขัตฤกษ์ของเดือนพฤษภาคมทั้งหมด กับเหตุผลที่ว่าหากให้มีวันหยุดเช่นนี้เกรงจะเกิดการเคลื่อนย้ายคน ไม่เป็นผลดีต่อการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งมันสวนทางกับสิ่งที่ศบค.เองมีมติไปทั้งการขยายเวลาบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินและเคอร์ฟิว นั่นเท่ากับว่า ไม่ว่าจะมีวันหยุดหรือไม่มาตรการที่กวดขันก็ยังคงเข้มข้นต่อไป