อรชุน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ประเด็นการอภิปรายโดยไม่ลงมติของพรรคฝ่ายค้านปมถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนและการแถลงนโยบายรัฐบาลโดยไม่แจกแจงที่มาของงบประมาณที่จะใช้นั้น ไม่จำเป็นต้องเก็บตกหรือชี้แนะชี้นำอะไร คำชี้แจงของมือกฎหมายประจำรัฐบาลสืบทอดอำนาจฟังขึ้นหรือไม่ หรือเป็นการดึงฟ้าต่ำเพื่อปกป้องตนเองนั้น วิญญูชนทั้งหลายย่อมรับรู้กันได้เอง เมื่อฝ่ายรัฐบาลทำตัวเป็นแผ่นเสียงตกร่องเรียกร้องให้ฝ่ายค้านเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชน เราก็ต้องลองไปจับจ้องงานของรัฐบาลบ้างว่าอะไรเพื่อประชาชนแล้วหรือยัง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ยืนหยัดชัดเจนในหลักการสำหรับ ชวน หลีกภัย แม้ฝ่ายรัฐบาลโดย วีระกร คำประกอบ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ จะยกเอาคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญปมถวายสัตย์ปฏิญาณมาเพื่อประสงค์จะเบรกการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติของพรรคฝ่ายค้านตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 และตอกย้ำอีกกระทอกระหว่างการอภิปราย โดย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.คนใหม่ของพรรคสืบทอดอำนาจ เรื่องความไม่ถูกต้องในการที่จะอภิปรายโดยไม่ยึดโยงกับคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
สะท้อนภาวะอับจนปัญญา จึงปะทุเป็นอารมณ์ แม้จะถอดเครื่องแบบวางอาวุธหันมาใส่สูทผูกไทแล้วฟอกตัวเองผ่านการเลือกตั้ง แต่จิตใต้สำนึกความเป็นเผด็จการมันจึงทนรับเสียงวิจารณ์ แรงกระแทกกระทั้นในฐานะนักการเมืองอาชีพไม่ได้ ถ้อยคำทั้ง “ไอ้คนที่อยู่เมืองนอก” และ “จะเอาผมแบบนี้หรือจะเอาผมแบบก่อน” มันล้วนส่อแสดงถึงอาการของคนที่หมดสิ้นถึงหนทางจะทำประโยชน์ให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมได้ จึงต้องระบายความอัดอั้นที่ยัดอยู่เต็มอก
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ช่วยกันถอดรหัสคำพูดของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บนเวทีสัมมนาบุคลากรภาครัฐที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อวานหน่อย “จะเอาผมแบบนี้หรือจะเอาผมแบบก่อน” ต้องการสื่อถึงอะไร เพราะในความรู้สึกของคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประยุทธ์แบบไหนทุกอย่างก็เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน แต่ถ้าในความหมายคือประยุทธ์ที่เป็นเผด็จการมีมาตรา 44 ถามว่ามันจะย้อนกลับไปได้อย่างไร
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
หนังสือพิมพ์ “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ฉบับที่อยู่ในมือท่านผู้อ่านวันนี้ เดินทางมาถึงปีที่ 25 ถ้าเป็นคนก็ถือเป็นวัยเบญจเพส และในช่วงวัยดังว่านี้มักจะมีความเชื่อกันด้วยเรื่องที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนักสักเท่าไหร่ แต่ในเมื่อเป็นองค์กรที่ยืนหยัดคู่กับท่านผู้อ่านโดยเฉพาะนักลงทุนทั้งหลาย ดีร้ายในมิติความเชื่อนั้นเป็นเรื่องของวิจารณญาณส่วนบุคคล แต่ในมิติของข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเชื่อได้เลยว่า “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ไม่ทำให้ผิดหวัง ยืนยันท้าทายสมกับเจตนารมณ์ “กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน” ทุกประการ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไปตอบกระทู้ถามสดของส.ส.ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรประเด็นเกี่ยวกับคดีความ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ยืนยันทุกอย่างไม่มีปัญหา ไม่เคยสารภาพว่าทำผิด และยังมีกฎหมายล้างมลทิน ทำให้ตัวเองสามารถกลับมามียศนำหน้าได้เหมือนเดิม พร้อมน้ำตาไหลพรากเมื่อพูดถึงประชาชนที่รอความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่คำชี้แจงดังกล่าวจะได้รับการยืนยันและเชื่อถือได้ คงต้องรอให้หน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวข้องออกมาการันตีว่าสิ่งที่รัฐมนตรีช่วยเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงนั้นเป็นจริงหรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ร้อนฉ่าขึ้นมาทีเดียวเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องปมถวายสัตย์ปฏิญาณของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ครบถ้วน โดยศาลมีมติเอกฉันท์ พร้อมชี้ว่าไม่อยู่ในอำนาจตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด คำถามที่ตามมาคือ เช่นนี้แล้วจะมีผลต่อการยื่นญัตติอภิปรายโดยไม่ลงมติของพรรคฝ่ายค้านที่จะอภิปรายกันในวันที่ 18 กันยายนนี้หรือไม่ หรือนี่คือสิ่งที่ผู้นำสืบทอดอำนาจตีขิมรอยื้อเวลามาจนถึงวันนี้
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
คิดเห็นกันอย่างไรกับกรณีสื่อออสเตรเลียออกมาเปิดข้อมูล ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ถูกดำเนินคดียาเสพติดที่ซิดนีย์ โดยที่เมื่อนักข่าวไปถาม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับไม่ได้รับคำตอบแถมยังบ่นดัง ๆ “ตอนเช้าอารมณ์ดี ๆ มาถามให้เสียอารมณ์เปล่า ๆ” เอ้า! หงุดหงิดเข้าไปอีก ก่อนจะตามมาด้วยประโยค “ทุกอย่างรัฐบาลทำเต็มที่ แต่กลายเป็นว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย…
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ยืนยันไม่หวั่นไหวใด ๆ กับการตกเป็นเป้าหมายรองจากท่านผู้นำในการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติวันที่ 18 กันยายนนี้ โดย วิษณุ เครืองาม ย้ำรอฟังคำถามจากฝ่ายค้านก่อนตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็บอกไม่รู้ ส่วนเรื่องการเปิดประชุมลับนั้น ต้องว่ากันตามหน้างาน ประเด็นนี้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้ามีเรื่องละเอียดอ่อน สุ่มเสี่ยง และพาดพิงบุคคลที่สามก็ขอประชุมลับ แต่ถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์อย่างที่ว่าก็ไม่ต้องประชุมลับ เรื่องประชุมลับไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
การเมืองว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์ หากเป็นก่อนจะสืบทอดอำนาจหรือหลังจากยึดอำนาจใหม่ ๆ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องด่ากราด ตราหน้าว่านักการเมืองชั่วนักการเมืองเลว เพราะเหตุนี้จึงต้องปฏิรูปและกำจัดคนเหล่านี้ให้หมดไปหรืออย่างน้อยก็จำกัดเส้นทางเดิน แต่พอตัวเองจะอยู่ในอำนาจต่อ โดยมีพรรคที่ตั้งมารอตั้งแต่เป็นหัวหน้าคสช. ไปไล่กวาดต้อนนักการเมืองที่ตัวเองเคยกล่าวหา เสียงด่าทอต่อว่าที่ดุดันขึงขังก็แผ่วเบาลงตามลำดับ