อรชุน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ท่าทีผ่านถ้อยแถลงของ ธีรยุทธ บุญมี ที่สังคมตั้งคำถามต่อการไม่อินังขังขอบในการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเคยถูกเรียกว่าเป็นคนเดือนตุลา หรือเป็นคนที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างที่ จาตุรนต์ ฉายแสง คนเดือนตุลาด้วยกันบอกว่า ไม่น่าเชื่อว่าการพูดเพื่อส่งเสริมการสืบทอดอำนาจเผด็จการที่แฝงเร้นด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงจะเกิดขึ้นในวันรัฐธรรมนูญจากผู้ที่เคยเรียกร้องรัฐธรรมนูญมาก่อน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ขอบคุณที่ช่วยยืนยันสิ่งที่อรชุนบอกมาโดยตลอดเรื่องคุณสมบัติอย่างหนาของเผด็จการ เพราะวันนี้ วิษณุ เครืองาม ยอมรับรัฐบาล คสช.ยังคงไปประชุม ครม.สัญจรต่อเนื่อง ไม่มีอะไรที่ไม่เหมาะสม ถึงอย่างไร ครม.ต้องประชุมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะประชุมที่นี่หรือสัญจรไม่ต่างกัน แต่ถ้าประชุมสัญจรอาจได้ลงพื้นที่ต้องยอมรับว่าคนเป็นรัฐบาลย่อมมีโอกาสได้เปรียบ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ความจริงไม่ต้องรอถึงวันนี้คนก็รู้กันทั้งบางและรู้มานานแล้วว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอันดับ 1 และน่าจะเป็นแค่คนเดียวของพรรคพลังประชารัฐแน่นอน การที่ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้า พปชร.บอกว่า ถึงเวลาที่จะต้องเชิญบิ๊กตู่แล้ว จึงเป็นเพียงแค่พิธีกรรมทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์เท่านั้นเอง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ความจริงที่บอกกล่าวกันมาตลอดถึง “พฤติกรรมย้อนแย้ง” ขององคาพยพเผด็จการ คสช.นั้นถูกพิสูจน์มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ล่าสุด คำพูดของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มพฤติกรรมย้อนแย้งดังว่า ก็คนในรัฐบาลนี้ประกาศด้วยความมั่นอกมั่นใจเมื่อต้นปีว่า “คนจนจะหมดไป” แต่ตอนนี้ยอดคนจนเพิ่มขึ้นมาเป็น 3 ล้านคน และรัฐบาลเผด็จการก็โพนทะนาด้วยว่าเป็นความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ปมบัตรเลือกตั้งไร้โลโก้และชื่อพรรคการเมือง ยิ่งฟังคำอธิบายของ กกต. โดยเลขาธิการและรองเลขาธิการ กกต. ยิ่งทำให้เห็นอาการแถ และไปกันใหญ่ ในเมื่อเหตุผลที่อ้างว่า การจัดพิมพ์โลโก้และชื่อพรรคจะเป็นปัญหาสำหรับการจัดเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ซึ่งสถิติที่ผ่านมา มีผู้ใช้สิทธิ์หลักสองถึงสามแสนคน ทำไมไม่แก้ไขหรือใช้บัตรที่ไม่มีโลโก้หรือชื่อพรรคในจำนวนที่มีตัวเลขบ่งบอก ซึ่งอาจจะพิมพ์เกินไปเล็กน้อย
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เพิ่งผ่านพ้นวันรัฐธรรมนูญมาไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่คำถามสำหรับประเทศไทยวันนี้คือ ระหว่างรัฐธรรมนูญที่ยกร่างโดยองคาพยพของเผด็จการกับคำสั่งของหัวหน้าเผด็จการผ่านมาตรา 44 อย่างไหนยิ่งใหญ่กว่ากัน และเส้นทางเดินบนถนนประชาธิปไตยที่จะไปสู่การเลือกตั้ง 24 กุมภาพันธ์ปีหน้า (ที่เคาะกันแน่นอนแล้ว) จะเป็นอย่างไร
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันนี้คงจะมีคำตอบเรื่องปลดล็อกพรรคการเมืองทำกิจกรรม หลังวงถกแม่น้ำ 5 สายกับพรรคการเมือง และ กกต. เพราะคนที่มีอำนาจตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวอย่าง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนั่งหัวโต๊ะปากก็บอกว่าแค่ไปรับฟังเฉย ๆ แต่หากมีการเปิดโอกาสให้ใครลุกขึ้นพูดแล้วมีการพาดพิงหรือจี้ใจดำขึ้นมา เชื่อแน่ว่าหัวหน้าเผด็จการคงไม่เก็บอาการและน่าจะต้องบอกกล่าวกันให้เกิดความชัดเจน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
แบไต๋กันขนาดนี้จะรออะไรอีก การที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าพรรคพลังประชารัฐยังไม่ได้มาทาบทาม แม้จะมีการประกาศว่าจะเสนอชื่อตัวเองเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคในอันดับ 1 หรืออาจจะเป็นเพียงแค่คนเดียวก็ตาม แต่ก็อ้างว่าเคยมีรัฐมนตรีที่ทำงานร่วมกันไปบริหารพรรค จึงน่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจร่วมงานได้ง่ายขึ้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
บอกไปเมื่อวันวานเรื่องการทำงานของ กกต.ทั้งเจ็ด โดยเฉพาะท่าทีของ อิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ที่ไม่อินังขังขอบต่อข้อทักท้วงใด ๆ แต่คำเตือนล่าสุดของ สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.ต่อกระบวนการภายในขององค์กรอิสระแห่งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่าคิดและเป็นเหมือนที่สะกิดเตือนไว้ กรณีเอกสารประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งหลุดก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา เห็นว่าไม่ใช่สาระสำคัญไม่เป็นไร แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าให้พึงระวัง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ทั้ง ๆ ที่ยืนยันทุกกระบวนการเป็นเรื่องของ กกต. แล้วทำไม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงกับขั้นใช้ถ้อยคำรุนแรงมีทั้ง “แม่ง-ตายห่า-ซังกะบ๊วย” ในที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อพูดถึงการถูกถามเรื่องแบ่งเขตเลือกตั้ง แค่ตอบง่าย ๆ ไม่ใช้อารมณ์ว่าไม่เกี่ยวกับรัฐบาล และ คสช. ไม่ต้องมาถามทุกอย่างก็น่าจะจบแล้วกระมัง