อรชุน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
แบไต๋กันขนาดนี้จะรออะไรอีก การที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าพรรคพลังประชารัฐยังไม่ได้มาทาบทาม แม้จะมีการประกาศว่าจะเสนอชื่อตัวเองเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคในอันดับ 1 หรืออาจจะเป็นเพียงแค่คนเดียวก็ตาม แต่ก็อ้างว่าเคยมีรัฐมนตรีที่ทำงานร่วมกันไปบริหารพรรค จึงน่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจร่วมงานได้ง่ายขึ้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
บอกไปเมื่อวันวานเรื่องการทำงานของ กกต.ทั้งเจ็ด โดยเฉพาะท่าทีของ อิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ที่ไม่อินังขังขอบต่อข้อทักท้วงใด ๆ แต่คำเตือนล่าสุดของ สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.ต่อกระบวนการภายในขององค์กรอิสระแห่งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่าคิดและเป็นเหมือนที่สะกิดเตือนไว้ กรณีเอกสารประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งหลุดก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา เห็นว่าไม่ใช่สาระสำคัญไม่เป็นไร แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าให้พึงระวัง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ทั้ง ๆ ที่ยืนยันทุกกระบวนการเป็นเรื่องของ กกต. แล้วทำไม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงกับขั้นใช้ถ้อยคำรุนแรงมีทั้ง “แม่ง-ตายห่า-ซังกะบ๊วย” ในที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อพูดถึงการถูกถามเรื่องแบ่งเขตเลือกตั้ง แค่ตอบง่าย ๆ ไม่ใช้อารมณ์ว่าไม่เกี่ยวกับรัฐบาล และ คสช. ไม่ต้องมาถามทุกอย่างก็น่าจะจบแล้วกระมัง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ความจริงหากปล่อยให้ กกต.เป็นผู้ชี้แจงแถลงไขหรือแจ้งข่าวแก่สื่อมวลชนเองน่าจะเป็นปัญหาน้อยกว่า แต่ก็พอจะเข้าใจได้ในฐานะทนายหน้าหอ ก็ต้องรีบบอกกล่าวพร้อมตีกันกรณีที่จะมีเสียงคัดค้านไว้ก่อน กับปมที่ วิษณุ เครืองาม ให้สัมภาษณ์ว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.เรียบร้อยแล้ว รอแค่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ช่วงนี้นอกจากต้องตอกย้ำเรื่องเลือกตั้งตามโรดแมป 24 กุมภาพันธ์ปีหน้าแล้ว ไม่ว่าเวทีไหน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องพกเอาเรื่องจัดเลือกตั้งโปร่งใส เป็นธรรม ไปพูดด้วย พร้อมกับการยืนยันไม่มีส่วนรู้เห็นเรื่องการย้ายพรรคของอดีต ส.ส.ทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่ที่ตกเป็นขี้ปากคงเป็นพวกที่พากันไปเข้าคอกพลังประชารัฐ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
อมพะนำ ทำไขสือ ด่าสื่อเป็นกิจวัตร งัดกฎหมายมาเป็นเกราะป้องกันตัวเองพร้อมเป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงข้าม นี่คือคุณสมบัติของผู้นำเผด็จการยุคนี้ พอนักข่าวถามเรื่องสังกัดพรรคการเมืองก็ทำเป็นหัวหมออ้างโน่นอ้างนี่สารพัด ก่อนจะปิดท้ายนิ่ม ๆ ความจริงไม่ต้องสังกัดพรรคไหนก็ได้ น่าจะเป็นเช่นนั้น หากฟังสิ่งที่เนติบริกรของรัฐบาลชี้ช่องเปิดทางอ้างข้อกฎหมายทั้งมวล
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
คงต้องดูกันว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยของ “ลูกโอ๊ค” พานทองแท้ ชินวัตร จะหยุดอาการเลือดไหลของพรรคได้หรือไม่ หลังจากอดีตส.ส.บิ๊กเนมของพรรคหลายรายไขก๊อกหันไปซบพลังประชารัฐ งานนี้เจ้าตัวลั่นจะทำให้ฝ่ายปล้นประชาธิปไตย รวมถึงพวกที่ตีจากเพราะเห็นแก่อามิสทั้งหลายได้รู้และเข็ดหลาบว่า การปล้นประชาธิปไตยอาจทำได้แค่ชั่วคราว แต่เมื่ออำนาจกลับคืนสู่มือของประชาชนเมื่อไหร่ เตรียมตัวได้ยินคำว่า “มันจบแล้วครับนาย” ได้เลย
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
หากเลือกตั้งเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ปีหน้า และจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2561 ตามคำยืนยันของ กกต.ว่ากรอบเวลา 90 วัน ที่ผู้สมัครจะต้องสังกัดพรรคการเมืองยังไม่ถูกยกเลิก หมายความว่า ภายในวันนี้บรรดาเสือหิวเสือโหยทั้งหลายจะต้องหาพรรคสังกัด สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาคึกคักกว่าใครเพื่อนหนีไม่พ้นพลังประชารัฐ พรรคของเผด็จการ คสช.
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที เมื่อ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกอาการโมโหโกรธาหลังถูกถามกรณี พลเอกยศนันท์ หร่ายเจริญ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติพร้อมพูดพาดพิงถึงการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ถึงขนาดที่บิ๊กป้อมบอกว่าเป็นคนเนรคุณ ไม่สำนึกข้าวแดงแกงร้อน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ต้องจับตาการหารือกันระหว่าง กกต. กับ 61 พรรคการเมือง 10 กลุ่มการเมืองในวันนี้ จะมีบทสรุปอย่างไร แน่นอนว่ามีวาระที่เป็นข่าวก่อนหน้าคือกลุ่มสหการเมือง จะยื่นหนังสือเพื่อขอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็น 5 พฤษภาคม 2562 ด้วยเหตุผลของความไม่พร้อม ขณะที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังยืนยันให้จัดการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม