อรชุน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ยังเป็นประเด็นให้พูดถึงอยู่ต่อเนื่องเรื่องการเดินทางมาพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และร่วมลงนามเอ็มโอยู 4 ฉบับกับหน่วยงานภาครัฐไทยของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารกลุ่มบริษัทอาลีบาบา ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจากจีน ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ที่มองเห็นทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงข้อกังวลเรื่องการผูกขาดทางการค้า

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    น่าสนใจใครเป็นคนคิดและลงมือทำ หนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ของกรมศิลปากร เนื้อหาอย่างที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ หากจะยึดหลักว่าใครคือผู้ชนะ ย่อมจะเขียนประวัติศาสตร์อย่างไรก็ได้ นั่นอาจจะใช้ได้ในยุคดึกดำบรรพ์ ที่มนุษย์ยังไร้วิวัฒนาการด้านการสื่อสาร แต่ไทยแลนด์ยุค 4.0 กลับยังใช้ความคิดยุคไดโนเสาร์ ถามคนชนะว่าชื่นชอบกับสิ่งที่ปรากฏอย่างนั้นหรือ

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรกับการที่ประชุมครม.เมื่อวันอังคารแต่งตั้ง สนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชลนั่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมด้วยการแต่งตั้ง อิทธิพล คุณปลื้ม อดีตนายกเมืองพัทยา เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยิ่งตามข่าวว่าเป็นการส่งเทียบเชิญโดย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยิ่งชัดเจนเด่นชัด

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ปกติช่วงสงกรานต์อันถือเป็นเทศกาลสาดน้ำ สถานการณ์การเมืองมักจะหยุดนิ่ง เว้นวรรคและพักผ่อนไปกับคนส่วนใหญ่ด้วย แต่ปีนี้กลายเป็นว่าสงครามน้ำลายของนักการเมืองกลับเข้มข้นผิดปกติ หรือเป็นเพราะเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้พ่นน้ำลายจึงอาศัยจังหวะเทศกาลที่มีโอกาสได้พล่ามกันเป็นต่อยหอย แต่หากเป็นการพูดจาที่น่าฟังก็อีกเรื่อง พอเป็นการสาดโคลนกันไปมา ประชาชนที่เบื่อหน่ายท่วงทำนองแบบนี้ต่างส่ายหน้ากันเป็นแถว

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นวันหยุดในส่วนของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ยาวไปจนถึงวันที่ 16 เมษายน ขณะที่ภาคเอกชนส่วนหนึ่งก็หยุดกันไปบ้างแต่ส่วนใหญ่ยังมีภารกิจต้องปฏิบัติกันอีก 1 วัน แต่ไม่ว่าจะหยุดช้าหรือเร็ว บรรยากาศสงกรานต์ปีนี้ก็หนีไม่พ้นการแห่แหนแต่งกายชุดไทยตามกระแสละครดัง ซึ่งถ้ามองอีกมุมก็ถือเป็นเรื่องดีที่อย่างน้อยสงกรานต์ไทยก็ได้เห็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์แห่งความเป็นไทยร่วมด้วย ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็มีความโดดเด่นในเรื่องของการแต่งกายที่แตกต่างกัน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    หากการเข้าพบ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ของอดีตส.ส.ประชาธิปัตย์และชาติไทยพัฒนา ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุมครม.เมื่อวันอังคารสัปดาห์ก่อน เป็นเพียงแค่การหารือเรื่องอีอีซีจริงอย่างที่ “ไก่อู” สรรเสริญ แก้วกำเนิด ออกมาแก้ต่างและตอบโต้ข้อกล่าวหาจากคนพรรคเพื่อไทยและพรรคเก่าแก่ ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกลียดและสังคมยอมรับได้

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันศุกร์ที่ผ่านมาราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้แผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน มีผลตั้งแต่ 7 เมษายนที่ผ่านมา น่าสนใจ คงหนีไม่พ้นแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สิ่งที่เห็นหลักๆ คือการเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนการออกพระราชบัญญัติการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ในที่นี้ไม่ทราบเจตนาว่าเพื่ออะไร เพราะความจริงสิ่งสำคัญสำหรับวัฒนธรรมตามระบอบประชาธิปไตยที่ทั่วโลกยึดถือ คือให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่ว่าจะสร้างกำแพงหรือทำสงครามข่าวสารล้างสมองประชาชนอย่างไร ก็ยากที่คนจะเชื่อว่า สิ่งที่รัฐบาลคสช.ดำเนินการมาตั้งแต่ยึดอำนาจจนกระทั่งเข้าสู่โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง จะไม่ใช่นโยบายประชานิยม ไม่ว่าประชารัฐ ไม่ว่าไทยนิยม ยั่งยืน ล้วนแล้วแต่เป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อสร้างความนิยมให้กับตัวผู้บริหารทั้งสิ้นไม่ว่าจะมาจากปลายกระบอกปืนหรือเลือกตั้งก็ตาม

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ถือเป็นมวยถูกคู่คนดูถูกใจ ถ้าไม่ใช่ปาหี่นี่ก็เป็นประเภทนักมวยที่เคยซ้อมค่ายเดียวกันมา และเชื่อว่าตามเส้นทางไม่น่าจะโคจรมาพบกัน แต่ด้วยพลังแห่งอำนาจสุดท้ายมันจึงหนีกันไม่พ้น ที่ว่าทั้งหมดไม่ใช่เรื่องของวงการหมัดมวยแต่อย่างใด หากเป็นเรื่องของการเมืองระหว่างผู้มีอำนาจอย่าง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับอดีตผู้สนับสนุนหลักให้เกิดการรัฐประหารอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    บอกมาโดยตลอดประเด็นปลดล็อกพรรคการเมืองทำกิจกรรมที่คสช.ใช้บรรทัดฐานคำว่าสงบเรียบร้อยมาเป็นตัวชี้วัด คำถามคืออะไรคือความสงบ หากหมายถึงต้องไม่มีกลุ่มใดๆ เคลื่อนไหว นักการเมืองต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ถ้าเช่นนั้นคงไม่มีทางที่จะได้เห็นพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม เพราะทุกอย่างมันอยู่ที่การตีความของผู้มีอำนาจทั้งสิ้น

Back to top button