อรชุน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    รู้อยู่แก่ใจเป็นอย่างดีกับคนที่ไร้อุดมการณ์ งานทุกวันคือการเชลียร์สอพลอคนที่ตัวเองไปสยบยอมอยู่ใต้อุ้งเท้าเผด็จการ ดังนั้น การออกมากระตุกสำนึกสำเหนียกของ จตุพร พรหมพันธุ์ ของ เสกสกล หรือ สุภรณ์ อัตถาวงศ์ คนที่ไม่สมควรได้รับฉายาว่าแรมโบ้อีสานอีกต่อไป ต่อการที่ประธานนปช.ชวนประชาชนร่วมระดมความเห็นจัดขบวนความคิดในวันที่ 4 เมษายนนี้เพื่อไล่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ ด้วยการดักคอว่า ระวังจะถูกผสมโรงล้มสถาบัน ถือเป็นข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อไปแล้วสำหรับรัฐบาลนี้

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันนี้ที่ทำเนียบรัฐบาลจะมีการถ่ายภาพหมู่ครม.หลังจากที่มีการขยับกันใน 4 ตำแหน่ง แต่มีรัฐมนตรีหน้าใหม่แค่ 2 ราย เพื่อขจัดปัญหาเสียงกวนใจจะได้ภาพถ่ายสวย ๆ เต็มไปด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนจึงจัดให้บุกเข้าสลายหมู่บ้านทะลุฟ้าเมื่อช่วงเช้าและเย็นของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พร้อมจับกุมผู้ชุมนุมมีทั้งเด็กและพระรวมอยู่ด้วยรวมทั้งหมด 99 คน กับข้ออ้างอันคลาสสิคในยุคเผด็จการสืบทอดอำนาจทุกอย่างยึดกฎหมายเป็นสำคัญและเป็นไปตามหลักสากล

  • คอลัมน์

    พาราสาวถี : อรชุน

    ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นตั้งแต่แรกอยู่แล้วสำหรับการปรับครม.ประยุทธ์ 2/4 เมื่อพรรคสืบทอดอำนาจมอบอำนาจการตัดสินใจทั้งหมดให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว มันจึงเข้าทางและก็เป็นการจัดการทางการเมืองภายในพรรคเมื่อบัญชีผู้เฝ้ารอเก้าอี้รัฐมนตรีอันดับหนึ่งของพรรคอย่าง ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เข้าวินในเก้าอี้ใหญ่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอีเอส แน่นอนว่า ลักษณะการทำงานก็ไม่ต่างกับ พุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ที่กระเด็นตกเก้าอี้ไปก่อนหน้า

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    แสดงออกถึงความมั่นใจถึงที่สุด ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจจึงได้ประกาศศักดาออกมาอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม “ใครอยากตัดวงจรสืบทอดอำนาจก็แก้รัฐธรรมนูญให้ได้ก็แล้วกัน” แน่นอนว่า หากเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งโดยปกติ ไม่มีใครกล้าที่จะท้าทายเช่นนี้ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการฆ่าตัวตาย ทั้งจากการลุกขึ้นมาประท้วงของประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริง และจะสั่นคลอนด้วยพลังทำลายล้างขององค์กรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่จำเป็นต้องถกเถียงกันทำไมเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของกลุ่มรีเด็มเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ข้ออ้างหลักมีแค่สองประการคือม็อบไม่ได้ชุมนุมโดยสงบใช้ความรุนแรงทำร้ายเจ้าหน้าที่ และมีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจคนไทยผู้รักสถาบัน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องไหนก็ตาม หากยึดหลักสันติวิธีและวิถีตามหลักสากลจริง เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายโดยไม่ต้องใช้กำลังได้

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่มีนักการเมืองประเทศไหนตลบตะแลง กะล่อน ปลิ้นปล้อน ได้เท่ากับนักการเมืองประเทศไทยอีกแล้ว การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 เมื่อวันพุธที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ พรรคสืบทอดอำนาจและส.ว.ลากตั้ง เด่นชัดมาตั้งแต่ต้นไม่ประสงค์จะให้มีการพิจารณาโหวตโดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นการตีตกร่างแก้ไขที่กำลังพิจารณากันอยู่ เข้าข่ายโมฆะมาตั้งแต่ต้น แต่สุดท้าย ก็ตัดสินใจให้มีการโหวต นี่ย่อมสะท้อนภาพการเมืองตีสองหน้า เล่นเกมกันอย่างชัดเจน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่แปลกใจที่การประชุมรัฐสภาวันวานจะประเดิมด้วยการลุกขึ้นอภิปรายของ ไพบูลย์ นิติตะวัน และ สมชาย แสวงการ ประสานเสียงเป็นปี่เป็นขลุ่ย ห้ามที่ประชุมเดินหน้าโหวตต่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่ยุติและชัดเจน ต้องไปเริ่มต้นกันใหม่ด้วยการทำประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนกันก่อน เท่ากับว่ามองเห็นภาพชัดในแนวทางของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ ส.ว.ลากตั้งและพรรคสืบทอดอำนาจคิดอย่างไรต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ชัดเจนกันไปสองเรื่องสำหรับผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ หนึ่งคือวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไม่มีปัญหาเรื่องผลข้างเคียง ไม่ต้องรอผลการสอบสวนจากฟากยุโรป ในเอเชียคนละรุ่น คนละไลน์การผลิต โดยที่บริษัทแม่ก็ยืนยันความปลอดภัย ดังนั้น ท่านผู้นำจึงจัดการประเดิมเข็มแรกคนแรกของประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย พร้อมคำพูดผ่านการแถลงข่าวหลังประชุมครม. ฉีดแล้วสมองแล่นกว่าที่ผ่านมา ไม่น่าจะเกี่ยวกับวัคซีน แต่คงเป็นเพราะคลายเครียดจากเสียงวิจารณ์ไปได้เปราะหนึ่งต่างหาก

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    มีประเด็นให้ต้องถกเถียงกันต่อไปอีกหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาที่วินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันนี้ได้รู้กันการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ค้างเติ่งอยู่ในสภาหลังร่างฉบับแก้ไขผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมรัฐสภาวาระ 2 ไปเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่าน แต่ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนว่าสามารถแก้ไขทั้งฉบับได้หรือไม่ หากไม่มีปัญหาก็สามารถเดินหน้าต่อได้ในวาระ 3 ซึ่งจะมีการประชุมสภาสมัยวิสามัญกันในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มบนความเชื่อของคนส่วนใหญ่ต่อผลของการตีความที่จะออกมา เป็นไปในเชิงลบเสียมากกว่า ประมาณว่าเขียนข่าวรอกันได้เลยผลจะเป็นอย่างไร

Back to top button