อรชุน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายต่อผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับการที่ชี้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้มีความผิดตามที่ถูกยื่นร้อง ไม่ต้องไปมองถึงคำอธิบายต่าง ๆ อย่างที่บอกไว้แต่ต้นที่โหมกระแสกันว่ามีความเป็นไปได้ที่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจจะหลุดจากเก้าอี้ เนื่องจากเป็นหนทางเดียวที่จะคลี่คลายวิกฤติของปัญหาโดยเฉพาะการชุมนุมที่กดดันประเทศอยู่ในเวลานี้ เมื่อจุดนั้นมันมีความเป็นไปได้เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำไปผลมันจึงออกมาอย่างที่เห็น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
คนส่วนหนึ่งต่างลุ้นกันว่าหลังบ่ายสามโมงวันนี้ไปแล้ว ชะตากรรมของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นอย่างไรจากผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีพักบ้านหลวงทั้งที่เกษียณอายุราชการมาแล้วกว่า 7 ปี ขณะที่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นตรงกันยังไงก็รอด เพราะมองไม่เห็นว่ามันจะเป็นความผิดแบบจะแจ้งตรงไหน ขณะเดียวกันก็มีการออกระเบียบมาใหม่แก้ไขจากบ้านพักสวัสดิการเป็นบ้านพักรับรอง เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีนี้โดยเฉพาะ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีนี้แล้ว สถานการณ์ของประเทศไทยยังไม่มีอะไรเปลี่ยนโดยเฉพาะกรณีของการชุมนุมขับไล่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ ซึ่งมาถึงเวลานี้คนจำนวนไม่น้อยยังมองเห็นตรงกันว่า หากข้อเสนอของกลุ่มราษฎรมีเพียงแค่ให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งและแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ป่านนี้เราคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นไปแล้ว ต่อให้ใครจะหน้าทนอย่างไรคงจะไม่อาจต้านทานกระแสของประชาชนที่ลุกฮือได้
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
การชุมนุมบริเวณห้าแยกลาดพร้าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพื่อ “ซ้อมต้านรัฐประหาร” คำถามสำคัญคือมันมีสัญญาณแรงถึงขนาดนั้นหรือไม่ คงยากที่ใครจะคาดเดาได้ แต่หากอ่านจากกระบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มราษฎร นี่เป็นการส่งสัญญาณไปยังฝ่ายที่คิดจะใช้วิธีการแบบเดิมในการเข้ามาแก้ไขปัญหาทางการเมือง ให้ตั้งสติให้ดี ยึดอำนาจนับแต่นี้ต่อไปจะไม่ง่ายเหมือนเดิม เพราะทันทีที่มีการก่อการฟันธงได้ว่าจะมีคนออกมาต่อต้านในทันใดเหมือนกัน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
มีคำตอบทันทีทันใดไม่ต้องรอการสืบสวนสอบสวนต่อกรณีเหตุยิงการ์ดราษฎรและปาระเบิดไปป์บอมบ์บริเวณการชุมนุมของกลุ่มราษฎรที่หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาลยืนยันว่า เป็นการทะเลาะกันของการ์ดอาชีวะของกลุ่มราษฎร ไม่ได้มีการแฝงตัวไปสร้างสถานการณ์แต่อย่างใด รีบสรุปเพื่อที่จะทำให้สังคมเห็นว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมมีการพกอาวุธไม่ใช่การชุมนุมอย่างสันติอย่างนั้นใช่หรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
โพสต์ของทหารที่ซ้อมยิงปืนแล้วบอกว่า “ซ้อมไว้เอาไปยิงม็อบ” ก่อนที่จะมีการลบและออกมาขอโทษ แต่นั่นไม่ได้กลายเป็นภาพสะท้อนของความมีอยู่จริงในการล้างสมอง ปั่นหัวให้คนที่มีกำลังและอาวุธ มองผู้เห็นต่างจากฝ่ายกุมอำนาจเป็นศัตรู คำถามที่สำคัญคือ ถึงขั้นที่จะต้องเข่นฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่งอย่างนั้นหรือ ดังนั้น เรื่องของความพยายามที่จะยั่วยุ จัดตั้งคนมาเพื่อปะทะกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎรเพื่อหวังให้มีเรื่อง ก็คงเป็นอีกหนึ่งอย่างที่เป็นจริงเช่นเดียวกัน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ทุกสายตาวันนี้จับจ้องไปยังการนัดชุมนุมของคณะราษฎรที่มีเป้าหมายคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ท่ามกลางการวางกำลังและแนวทางสกัดกั้นอย่างเต็มที่ของฝ่ายความมั่นคง โดยที่ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่า จะมีการเคลื่อนไปยังจุดหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ แต่เบื้องต้นมีการนัดหมายรวมตัวกันในเวลาบ่ายสามโมงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนประเด็นเรื่องม็อบชนม็อบนั้น ว่ากันตามความจริงหากไม่มีการจัดตั้งกันมาก็ไม่มีปัญหา
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
อย่าได้บอกว่าเอกสารลับสมช.ต่อกรณีให้จับตา รัศม์ ชาลีจันทร์ อดีตทูตที่ร่วมม็อบราษฎรพร้อมดำเนินการไอโอตอบโต้เป็นของจริงหรือไม่ เพราะพฤติกรรมของฝ่ายความมั่นคงและคณะสืบทอดอำนาจตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมานั้น คนทั่วไปสัมผัส รับรู้ได้อยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร แต่การปรากฏขึ้นของข่าวดังกล่าวย่อมสะท้อนให้เห็นถึงภาวะขาลงของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ ที่ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายต่อต้าน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
หลายคนสงสัยแถลงการณ์ของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ เรื่องยกระดับการรับมือม็อบ บังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตราหมายถึงอะไร หมายความว่า ที่ผ่านมาซึ่งก็มีการดำเนินคดีกับแกนนำของกลุ่มผู้ชุมนุมไปจำนวนมากนั้น ไม่ได้มีการใช้กฎหมายทุกมาตรา ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มข้นอย่างนั้นหรือ ถ้าเช่นนั้นจะถือว่าการปฏิบัติงานของฝ่ายความมั่นคงเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หรือกฎหมายที่ว่าหมายถึงมาตรา 112
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ไม่มีอะไรเหนือความคาดหมายกับผลลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อเสียงส.ว.โหวตรับร่างของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน แล้วตีตกร่างของไอลอว์ โดยมีส.ว.เพียง 3 คนที่ลงมติรับหลักการในร่างดังกล่าว โดยที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 45 คนมาพิจารณา แบ่งเป็นส.ส. 30 คน ส.ว. 15 คน กำหนดเวลาแปรญัตติ 15 วัน โดยยึดร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นร่างหลักในการพิจารณา และเริ่มประชุมนัดแรกวันที่ 24…