อรชุน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ค่ำคืนที่ผ่านมาไม่รู้ว่าสถานการณ์ของการชุมนุมหน้ารัฐสภาดำเนินไปในลักษณะใด แต่การตัดสินใจใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง ฉีดเข้าใส่ผู้ชุมนุมคณะราษฎร พร้อมขว้างแก๊สน้ำตาเข้าใส่ ด้วยเหตุผลว่าล้ำเส้นที่ขีดไว้ กลายเป็นที่โจษจันว่า นี่เป็นการใช้กำลังโดยไม่จำเป็นอีกครั้ง เพราะสิ่งที่เป็นภาพตัดกันคือ ม็อบอีกพวกนั้นสามารถที่จะเดินผ่านแนวสกัดของฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้อย่างง่ายดายเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสองมาตรฐานย่อมนำมาซึ่งปัญหา

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    คึกคักเป็นอย่างมากสำหรับบรรยากาศก่อนการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ร่างในวันนี้ คึกคักแรกคือบรรดาส.ส.และส.ว.ที่ต่างพากันแสดงจุดยืน หาเหตุผลมาอธิบายการรับหรือไม่รับร่างแก้ไขในแต่ละฉบับ โดยเฉพาะร่างแก้ไขฉบับประชาชนของไอลอว์ที่ชัดเจนว่าท่าทีของส.ว.ลากตั้ง ส.ส.พรรคสืบทอดอำนาจและพรรคร่วมรัฐบาลปฏิเสธที่จะรับไว้พิจารณา บนคำถามที่ตามมาคือ แล้วจะทำให้เกิดความวุ่นวายหลังจากนี้หรือไม่

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    คำว่าม็อบแผ่วในความหมายของหน่วยงานที่รายงานต่อคณะรัฐมนตรีมันก็คือ การสอพลอและเอาใจผู้มีอำนาจทำให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจได้ยิ้มที่มุมปากเท่านั้นเอง เพราะข้อเท็จจริงในเวลานี้ ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าการนัดรวมพลใหญ่จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ ในภาวะที่คณะผู้บริหารประเทศก็ไม่สามารถที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นได้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำ โครงการคนละครึ่งที่พยายามปั้นตัวเลขอันว่ามีเม็ดเงินหมุนเวียนกว่าหมื่นสามพันล้านบาทก็เริ่มมีข้อกังขาจากประชาชน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    สุดสัปดาห์นี้ต้องรอติดตามกันว่าคณะราษฎรจะมีอะไรมาจุดพลุเรียกระดมพลอีกหรือไม่ หากไร้ซึ่งกิจกรรมก็ทำให้น่าเชื่อได้ว่าม็อบกำลังจะฝ่อเหมือนอย่างที่สภาความมั่นคงแห่งชาติรายงานในที่ประชุมครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แต่ถ้าช่วงวันหยุดไม่มีการนัดหมายชุมนุม นั่นก็หมายความว่า จะมีการไปจัดการชุมนุมในวันที่ 17-18 พฤศจิกายนนี้ เป็นเวทีคู่ขนานกับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับซึ่งที่ประชุมรัฐสภาจะให้ลงมติว่ารับหรือไม่รับหลักการ

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    จะดีใจหรือไม่กับรายงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือสมช.ต่อที่ประชุมครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ม็อบคณะราษฎรอ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการไม่มีกิจกรรมถี่ยิบเหมือนช่วงก่อนหน้าก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะดีขึ้น เห็นได้ชัดจากการจัดชุมนุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ทั้งที่เห็นว่านั่นเป็นการเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงและโดยปกติในอดีตน่าจะมีคนเข้าร่วมน้อย แต่ปรากฏว่ามีคนแห่แหนไปร่วมชุมนุมคับคั่งเหมือนเดิม

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    คดีความที่จะตามมาของม็อบเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้นคงมีอีกเพียบ แต่ปัญหาใหญ่คือหนนี้ไม่มีแกนนำหลัก ฝ่ายความมั่นคงจะเลือกจิ้มดำเนินคดีกับใคร ขณะที่อีกฝ่ายซึ่งออกมาเคลื่อนไหวไม่ต้องถามถึงเรื่องคดีความ แต่คำถามที่ตามมาต่อการขยับของพวกเดียวกันแต่คนละกลุ่มคือ ข้อเสนอให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจชัตดาวน์ประเทศ และให้ผบ.ทบ.ทำการรัฐประหารนั้น ถามว่ามีความผิดหรือไม่ ถ้ายึดตามกฎหมายถือว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองอย่างชัดเจน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ละล่ำละลัก “ขอโทษ” ม็อบไม่หยุดปากสำหรับผู้บัญชาการเหตุการณ์ในวันที่คณะราษฎร 63 เคลื่อนขบวนไปยังเป้าหมายสำนักพระราชวัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ฉีดน้ำแรงดันสูงเข้าใส่ผู้ชุมนุม แน่นอนว่าเป็นปฏิบัติการณ์ที่ไร้การเจรจาใด ๆ ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างชัดเจน ดีที่ว่าไม่ทำให้สถานการณ์บานปลาย เพราะการดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำกับแนวหน้าของม็อบที่เคลื่อนไปเพื่อเจรจาและป้องกันเหตุรุนแรง รวมถึงจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในนั้นก็คือสื่อมวลชนที่ไปรายงานข่าว

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ลุ้นกันนานกว่าปกติสำหรับผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในรอบนี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากจำนวนผู้ลงคะแนนผ่านไปรษณีย์ที่มีมากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จึงต้องรอกันต่อไป สุดท้ายผู้ที่กำชัยก็ไม่มีพลิกโผเป็น โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ขณะที่ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นอดีตประธานาธิบดี แต่ประสาของคนอย่างทรัมป์แล้ว คงไม่ปล่อยให้คู่แข่งได้ก้าวไปสู่ทำเนียบขาวอย่างราบรื่นแน่นอน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    มีเวลาได้หายใจหายคอไม่กี่วัน วันอาทิตย์นี้ก็มีโจทย์ใหญ่ให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจต้องคิดหนักอีกแล้ว เมื่อคณะราษฎรมีการนัดรวมพลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเตรียมเดินขบวน เขียนจดหมาย ให้ทุกคนออกมาร่วมกัน ยืนยันว่าประเทศดีได้กว่านี้ และยืนยันใน 3 ข้อเรียกร้องคือ ประยุทธ์และองคาพยพต้องออกไป ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จากประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยประเด็นการเขียนจดหมายที่ว่านั่นแหละที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันนี้น่าจะรู้ผลอย่างเป็นทางการสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะเป็น โดนัลด์ ทรัมป์ หรือ โจ ไบเดน แต่แนวโน้มของคะแนนที่ออกมาพบว่าผู้ท้าชิงมีโอกาสจะคว้าชัยอย่างสูงยิ่ง ซึ่งนั่นจะทำให้ทรัมป์กลายเป็นอดีตประธานาธิบดีคนแรกที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งในสมัยที่สองในรอบ 28 ปี นับตั้งแต่ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เคยพ่ายแพ้เมื่อปี 2535 แต่ไม่ว่าใครจะได้เป็นผู้นำมะกัน มันย่อมส่งผลกระทบต่อทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไปทั่วโลก

Back to top button