อรชุน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    อารมณ์ขันรับอรุณวันประชุมครม. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ตอบคำถามนักข่าวเรื่องนักเรียนชูสามนิ้วในโรงเรียนบอกเป็นเพียงสัญลักษณ์ของลูกเสือ ในทางกลับกันต้องย้อนไปดูสีหน้าแววตาของน้องเล็ก ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ มันตรงข้ามกับพี่ใหญ่อย่างสิ้นเชิง ออกอาการเครียดหนักตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ไม่รู้สาเหตุมาจากเห็นม็อบมากันจำนวนมาก หรือเพราะถูกอดีตอธิบดีอัยการขับรถไล่จี้ขบวนแล้วบีบแตรไล่หรือไม่

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไหลลามเข้าไปในรั้วโรงเรียนอย่างเข้มข้นและดุเดือด สำหรับแนวร่วมม็อบประชาชนปลดแอก ที่วันวานปรากฏภาพของนักเรียนในหลายโรงเรียนทั่วประเทศแสดงออกด้วยการชู 3 นิ้วหน้าเสาธงพร้อมการผูกโบว์สีขาวและการติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์ “โรงเรียนหน้าเขาไม่เอาเผด็จการ” โดยมีโรงเรียนบางแห่งที่ครูแสดงอาการโมโหถึงขั้นตบนักเรียนจนโทรศัพท์ที่ถ่ายคลิปร่วงจากมือ และอีกหลายพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการวางอำนาจบาตรใหญ่

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    เป็นความท้าทายและพิสูจน์ความจริงใจของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจไปในคราวเดียวกัน ม็อบของขบวนการคนหนุ่มสาวที่ขยายวงกันไปทั่วประเทศ เวทีรับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่ประกาศกันมานานร่วมสองสัปดาห์ ยังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดและมีใครที่จะถูกเชิญเข้าร่วมบ้าง หากเป็นพวกจัดตั้งทุกอย่างก็จบ เพราะจะได้แค่เสียงสรรเสริญเยินยอ คำไพเราะเสนาะหู แต่ไม่ใช่ปัญหาอันแท้จริง ซึ่งถึงวันนี้ต่างรู้ดีกันว่าคืออะไร

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    อาทิตย์นี้ลุ้นระทึกไม่ใช่วันหวยออก แต่เป็นวันที่กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ในนามเยาวชนและประชาชนปลดแอก นัดชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คาดหมายไม่ได้คาดเดาไม่ถูกว่ารูปแบบจะออกมาเป็นอย่างไร ถ้ายึดบรรทัดฐานจากการเคลื่อนไหวที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา ก็น่าเป็นห่วง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันซ้ำอีก รอบนี้ฝ่ายความมั่นคงไม่น่าจะปล่อยผ่าน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    เวทีชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา อาจเป็นจุดตั้งต้นของสถานการณ์ที่พลิกผัน ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลสืบทอดอำนาจจะกุมความได้เปรียบ แต่มันเหมือนเป็นการโบกมือดักกวักมือเรียกให้ท็อปบูธต้องออกมาคลี่คลายสถานการณ์ นั่นหมายความว่า ปลายทางที่จะเกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มันจะเปลี่ยนไปเป็นการ “ฉีกทิ้ง” แทน แกนนำของขบวนการคนหนุ่มสาวคงต้องตอบคำถามตัวเองว่ากำหนดทิศทางและวางเป้าหมายกันไว้อย่างไร

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ผ่านพ้นไปเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไรกับการที่มีสองม็อบนัดหมายในเวลาเดียวกัน สถานที่เดียวกันคือรัฐสภา แต่เคลื่อนไหวคนละเรื่อง หรือมองอีกด้านคืออยู่ฝ่ายตรงข้ามกันอย่างชัดเจน โดยกลุ่มคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือครช. นำโดย อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปยื่นหนังสือผ่านฝ่ายค้านเป็นร่างพระราชบัญญัติประชามติ แสดงเจตจำนงให้ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่แก้ไขรายมาตรา

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ฟังคำอธิบายเรื่องตัวรัฐมนตรีที่ผ่านการปรับแล้วจากปากของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยิ่งทำให้เห็นว่า สิ่งที่ทำไปนั้นเพื่อหวังผลในมิติทางการเมืองเท่านั้น หาได้มีมิติที่จะทำให้ประชาชนฝากความหวังไว้ได้แม้แต่น้อย แม้กระทั่งการชี้แจงเรื่องส่ง นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ จากโฆษกรัฐบาลไปนั่งเป็นรัฐมนตรีช่วยแรงงาน พยายามจะบอกหรือโชว์ให้เห็นวิสัยทัศน์ในการมองปัญหาภาคแรงงานและการให้ความสำคัญ แต่โจทย์ที่อธิบายดูเหมือนจะไปคนละทิศละทางกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ในที่สุดก็เห็นช่องทางของการรื้อคดี วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส กระทิงแดง ตั้งต้นกันที่คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่อัยการสูงสุดตั้งขึ้นมา ตั้งโต๊ะแถลงไปแล้ววันวาน ย้ำมี 2 ประเด็นที่ยังไม่ปรากฏในสำนวนชุดที่ เนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง คือ ความเร็วรถที่คำนวณได้ในอัตรา 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิอาญา…

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    มีประเด็นให้เป็นคำถามได้ต่อเนื่องกับเรื่องอัยการสั่งไม่ฟ้อง วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส กระทิงแดง องค์กรอัยการกลายเป็นตำบลกระสุนตก ตามมาด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนที่พลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วยก็หนีไม่พ้นรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะกรณีนี้มันจะเป็นบทพิสูจน์เรื่องความเหลื่อมล้ำได้อีกประการหนึ่ง กับวลีเด็ดเล่นกับความรู้สึกของประชาชนคุกมีไว้ขังคนจน ที่มันไปไกลจนยากที่ปฏิบัติการณ์ข่าวสารหรือไอโอใด ๆ จะล้มล้างได้

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ยังคงเป็นปุจฉาที่ต้องเร่งหาคำตอบให้สาธารณชนหายข้องใจโดยเร็ว กับกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส กระทิงแดง จนกระทั่งเกิดเป็นกระแสสังคมกดดันไปยังทุกฝ่าย สุดท้ายต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้กระทั่งรัฐบาลเองที่ท่านผู้นำก็ประกาศปาว ๆ ไม่เกี่ยวข้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แต่ทานแรงต้านของสังคมไม่ไหว ต้องไปขุดคุ้ยหาความจริงให้เป็นที่ประจักษ์

Back to top button