อรชุน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ประเทศไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐบาลคณะรัฐประหาร แต่การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ มีความอุ่นใจเพราะการรวบอำนาจไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว ทำให้รู้สึกมั่นใจ อาจมองได้ว่า นี่เป็นการยึดอำนาจอีกหนผ่านกฎหมายดังกล่าว เรื่องเหตุผล 3 ประการที่ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน พยายามยกเอาประเด็นโควิด-19 เพื่อช่วยสร้างความชอบธรรมนั้น หากคุณหมอบอกว่าไม่ชอบการเมืองก็ขออย่าทำตัวเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเลย

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่ได้เหนือความคาดหมายกับการที่คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มี พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสมช.เป็นประธาน จะเคาะให้ต่ออายุการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ด้วยการอ้างว่าเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการผ่อนปรนในระยะที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเสียงของ กระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชนที่ร่วมเป็นคณะกรรมการเป็นหลังพิง

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ติ๊ดชึ่งแบบมีลีลา ดูเหมือนจะดราม่านิด ๆ ในวันที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงถึงการนำเอาการบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้พ.ร.บ.ล้มละลาย ท่านผู้นำบอกว่านี่คือ “การตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุด” คงมีคำถามว่า ลำบากในเรื่องใด ถ้าด้วยเหตุที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยเคยเป็นฐานสำคัญให้ม็อบชัตดาวน์ประเทศปูพรมนำพาท่านผู้นำมายึดอำนาจ ก็ต้องบอกว่าการปล่อยให้ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 6 ปี ก็ถือเป็นการตอบแทนกันที่น่าจะเพียงพอแล้ว

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    เป็นไปตามนั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจหรือคนร.ฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยมี 2 ประเด็นสำคัญคือ ให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในการบินไทยจาก 51 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 48 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้การฟื้นฟูกิจการมีความคล่องตัวมากขึ้น สัดส่วนหุ้นที่ลดลงจะถูกขายต่อให้กองทุนวายุภักษ์เข้ามาถือหุ้นแทน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ไม่ว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศไทยจะเป็นศูนย์หรือไม่ นั่นไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าเราประสบความสำเร็จในการป้องกันและกำจัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว หากแต่ถ้าประชาชนยังคงให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตัวในการเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด ไม่จำเป็นต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ต้องมีเคอร์ฟิว ก็เชื่อได้เลยว่า สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล ถ้าประชาชนไม่รามือถ้าภาครัฐไม่การ์ดตก ทุกคนก็อุ่นใจได้

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนำคณะกรรมการศบค.ลงพื้นที่ตรวจห้างสรรพสินค้า เพื่อดูความพร้อมในการรับการผ่อนปรนระยะที่ 2 ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ดี เห็นมาตรการที่จะบังคับใช้กับห้างที่จะเปิดแล้วต้องบอกว่าเข้มงวดทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้รับบริการจริง ๆ เช่น การจัดให้มีระบบถ่ายเทอากาศภายในอาคารมากกว่า 10 เท่าต่อชั่วโมง หรือ 10 ACH และทำการอบฆ่าเชื้อระบบปรับอากาศส่วนกลางเป็นประจำทุกคืนด้วยรังสี…

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    สิ่งที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างในการแถลงข่าวหลังการประชุมครม.เมื่อวันอังคารว่าไม่ได้สั่งให้กอ.รมน.ไปทำโพลถามความเห็นประชาชนว่าถึงเวลายกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วหรือยัง แต่กลับมีการยกโพลของสื่อบางสำนักมาอ้างว่า มีชาวบ้านถึง 88 เปอร์เซ็นต์ที่หนุนให้คงพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป ถามว่าอย่างนี้จะเรียกโพลยกเมฆหรือโพลเชลียร์ได้ไหม เพราะการไม่บอกที่มาว่าเป็นสื่อไหนคนส่วนใหญ่ย่อมเกิดคำถามและมีผลต่อความน่าเชื่อถือ

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วานนี้เป็นวันสุดท้ายที่ศบค.เปิดรับฟังความคิดเห็นผลของการประเมินมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 1 เพื่อรวบรวมนำไปสู่การปลดล็อกในระยะที่ 2 โดยที่วันนี้จะมีการประเมินผลรวมไปถึงการเตรียมมาตรการเพื่อออกเป็นมาตรการใช้สำหรับกิจกรรมกิจการที่จะผ่อนปรนในเฟส 2 โดยก่อนที่จะประกาศผ่อนปรนที่วางกันไว้ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ จะมีการใช้เวลาที่เหลือ 2-3 วันนี้ หากลุ่มตัวอย่างหรือพื้นที่ทดลองเปิดหรือ Sandbox เช่น ห้างสรรพสินค้า

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดีวันดีคืน ถึงขนาดที่เตรียมจะผ่อนปรนในเฟสสองกันไว้แล้ว เป้าหมายหลักก็คือห้างสรรพสินค้าและร้านค้าภายใน แต่คงไม่ใช่การเปิดให้บริการเหมือนที่ผ่านมา ต้องมีกติกาที่วันก่อน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แง้มมาบ้างแล้ว คือ จำกัดจำนวนคนเข้าไปใช้บริการในแต่ละรอบ ให้ใช้บริการได้ไม่เกินคนละ 2 ชั่วโมง โดยที่เจ้าของกิจการจะต้องมีมาตรการในการป้องกันการแพร่และรับเชื้ออย่างเคร่งครัด

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    เกิดปุจฉากันจำนวนไม่น้อยเว้นแต่คอสุรา กรณีที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมเป็นต้นมา ทั้งที่ความจริงกรณีนี้น่าจะเป็นระยะสุดท้ายที่จะได้รับการผ่อนปรน เหมือนอย่างคำถามที่เกิดขึ้นจาก นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ ที่ผ่านมาการไม่ให้ขายเหล้าไม่มีใครเดือดร้อนยกเว้นเศรษฐกิจที่กระทบ

Back to top button