ศุภวัชร์ มาลานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • คอลัมน์

    Cap & Corp Forum : กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบริบทของผู้บริโภค

    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับเต็มรูปแบบในวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 ได้ก่อตั้งสิทธิหลาย ๆ ประการให้แก่ผู้บริโภคในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะพึงปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคดังกล่าว และแม้ว่าพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ จะมุ่งใช้กับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในทุก ๆ ลักษณะไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือระหว่างรัฐกับประชาชนด้วยก็ตาม แต่หากดูจากนโยบายการบังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศจะพบว่าส่วนสำคัญที่สุดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือการใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูลเหล่านั้นจากผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ…

  • คอลัมน์

    Cap&Corp Forum : องค์กรบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    สิทธิในการได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (right to information privacy) เป็นสิทธิที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากสถานะของตัวข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และในหลาย ๆ ธุรกิจข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าถือเป็นสินทรัพย์สำคัญหรือสินทรัพย์หลักของธุรกิจเลยทีเดียว หลาย ๆ ประเทศจึงมีการตรากฎหมายเฉพาะว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ชื่อว่าก้าวหน้าที่สุดและเป็นแม่แบบของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลาย ๆ ประเทศในปัจจุบันคือ GDPR ของสหภาพยุโรป

  • คอลัมน์

    CAP&Corp Forum : กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของรัฐแคลิฟอร์เนีย

    สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายกลางเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับสหพันธรัฐคงมีแต่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับในกิจการรายสาขา อาทิ Health Insurance Portability and Accountability Act ซึ่งใช้บังคับในกิจการด้านสาธารณสุข Fair Credit Reporting Act (“FCRA”) และ Gramm-Leach-Bliley Act ใช้บังคับในกิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น และส่วนสำคัญที่มีบทบาทในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากที่สุดในระดับสหพันธรัฐ…

  • คอลัมน์

    Cap&Corp Forum : Google, Fitbit ข้อพิจารณาทางกฎหมายในการเข้าซื้อกิจการ

    เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 Google ประกาศซื้อกิจการของ Fitbit ผู้ผลิตสมาร์ตวอตช์และอุปกรณ์ติดตามตัวอัจฉริยะ ซึ่งมียอดจำหน่ายเป็นอันดับสามของโลกรองมาจาก Xiaomi และ Apple ด้วยมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา การซื้อกิจการของ Fitbit ดังกล่าวจะทำให้ Google สามารถพัฒนา…

  • คอลัมน์

    Cap&Corp Forum : GPS Tracking โดยรัฐและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    การระบุพิกัดหรือการระบุสถานที่ผ่าน Geolocation หรือ Location data เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดสามารถใช้ในการระบุพิกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือแบบพกพา สมาร์ตโฟน สมาร์ตวอตช์ หรือระบบ GPS Tracking ที่ฝังมาในอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ กล้องติดรถยนต์…

  • คอลัมน์

    Cap & Corp Forum : หน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 มีบทบัญญัติจำนวนมากที่อาจส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งซึ่งอาจจะยังไม่มีการกล่าวถึงเลยคือข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้างหรือบทบาทของนายจ้างในฐานะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

  • คอลัมน์

    Cap & Corp Forum : ความรับผิดของรถยนต์ไร้คนขับในประเทศอังกฤษ

    รถยนต์ไร้คนขับแบบสมบูรณ์กำลังเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้นี้ ในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 ระบบ Advanced Driver Assistance Systems (“ADAS”) หรือระบบขับขี่ปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีการใช้เป็นการทั่วไปสำหรับรถยนต์ทุก ๆ คัน โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ ระบบหยุดรถในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบบรักษาช่องทางการขับขี่ (lane assistance) ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ…

  • คอลัมน์

    Cap & Corp Forum : คุกกี้และความยินยอมตามกฎหมาย

    จากข้อมูลของวิกิพีเดีย “เอชทีทีพีคุกกี้” (HTTP cookie) หรือ “เว็บคุกกี้” หรือ “คุกกี้” หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังเว็บเบราว์เซอร์ และถูกส่งกลับมายังเว็บเซิร์ฟเวอร์ทุก ๆ ครั้งที่เว็บเบราว์เซอร์ร้องขอข้อมูล โดยปกติแล้วคุกกี้จะถูกใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็ก ๆ ไว้ที่เว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถจดจำสถานะการใช้งานของเว็บเบราว์เซอร์ที่มีต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างการใช้งานคุกกี้ เช่น ใช้เพื่อจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้…

  • คอลัมน์

    Cap&Corp Forum : Google v. CNIL

    เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นในคดีพิพาทระหว่าง Google และ Commission nationale de l’informatique et des libertés (“CNIL”) หรือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศฝรั่งเศสในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการบังคับใช้ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และถือเป็นคดีสำคัญคดีหนึ่งที่กำหนดกรอบนโยบายกฎหมายเกี่ยวกับ…

  • คอลัมน์

    Cap & Corp Forum : ข้อสังเกตกรณีคดี M-150

    เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (“กขค.”) แถลงข่าวการดำเนินการพิจารณาคดีที่เสร็จสิ้นการพิจารณาจำนวน 3 คดี โดยมีคดีบริษัท เอ็ม-150 จำกัด เป็นหนึ่งในคดีที่ กขค. ให้ความเห็นว่ากระทำความผิดจริงและมีคำสั่งปรับทั้งสิ้นจำนวน 12 ล้านบาท ในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542…

Back to top button