โมนิก้าและทีมงาน

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : ตื่นทอง..ไม่ตื่นหุ้น

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ทำให้ “โมนิก้า” รู้ด้วยตัวเองทันทีว่านี่เป็น “ยุคตื่นทอง” มากกว่า “ยุคตื่นหุ้น” เพราะมีแต่คนเม้าท์แตกเรื่องราคาทองพุ่งขึ้นมายืนแถว 27,000 บาท เทียบกับไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้อยู่แค่ระดับ 23,000 บาท จึงสร้างความกระสันให้นักลงทุน “หน้าใหม่” และ “หน้าเก่า” กระโจนเข้าสู่ตลาดทองคำอย่างอึกทึกครึกโครมภายในระยะเวลาสั้น…

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : ซื้อมากเกินไป ?

    การขึ้นมายืนเหนือระดับ 1,250 จุดเป็นอะไรที่ดีมากก็จริง แต่อย่าลืมว่าการขึ้นมายืนครั้งนี้เต็มไปด้วยแรงเก็งกำไร และมีใบสั่งให้อุ้มหุ้นแบบสุดซอย ส่งผลให้ดัชนีขึ้นสวนทางกับปัจจัยพื้นฐานมาค่อนข้างไกล “โมนิก้า” ถึงอยากให้แฟนคลับประเมินค่า Modified Stochastic ณ ระดับ 93 (ทั่วไปไม่เกิน 80) ดัชนีขึ้นไปอยู่ที่ 1,250 จุด ก่อนจะโรยตัวลงมาที่ 1,236.10…

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : ฐานใหม่ 1,250 จุด

    อันที่จริงต้องยอมรับว่าสถานการณ์ไวรัสมรณะที่แพร่ระบาดอย่างหนักเริ่มคลี่คลายไปได้ในบางส่วนก็จริง แต่ยังต้องคุมเข้มมาตรการต่าง ๆ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อทำให้ทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้ “โมนิก้า” จึงขอกล่าวชื่นชมการทำงานของทุกภาคส่วนที่ให้ใจเกินร้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เราทุกคนได้เห็นความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อชนะศึกครั้งนี้ไปด้วยกันไงล่ะคะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : ย่ำฐานต่อไป

    ดูเหมือนสถานการณ์หลายอย่างเริ่มนิ่งจากก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด จนทำให้ผู้คนเริ่มมีหวังในการพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาดีดั่งเดิมในไม่ช้า “โมนิก้า” เลยรู้สึกยินดีกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นคุณประโยชน์กับประเทศชาติ เพราะมันหมายถึงทุกคนกำลังเดินไปในเป้าหมายเดียวกัน (เมื่อทุกอย่างดีขึ้น เดี๋ยวก็กลับมาตีกันใหม่) จึงขอส่งอีกหนึ่งแรงใจเพื่อช่วยให้ประเทศไทยน่าอยู่ขึ้นกว่าเดิมนะคะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : กองทุนต้องไม่ถอย

    *ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมามีข้อมูลอย่างหนึ่งที่ “โมนิก้า” ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษคือ แรงซื้อของนักเล่นกลุ่มที่เป็นกองทุนในประเทศ ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาดหุ้นไทยจะไปทางไหน และยังพิสูจน์ให้เห็นว่าการขึ้นมาเที่ยวนี้น่าจะเป็นเพียงความเชื่อของการโยกย้ายเม็ดเงิน โดยทุกอย่างยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ดัชนีถึงแกว่งตัวฉวัดเฉวียนเหลือเกินไงล่ะคะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : เต็มลิมิต ?

    ก่อนหน้านี้ “โมนิก้า” รู้สึกแฮปปี้กับการทะยานขึ้นของดัชนี แต่เมื่อเห็นข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกรอบเล่นของตลาดหุ้นไทยปี 2563 น่าจะตันอยู่ที่ระดับ 1,250 จุด เลยเกิดอาการ “ชักกระตุก คอเกร็ง เข่างอ” ขึ้นมาในทันที เพราะสิ่งที่เห็นวานนี้คือ ดัชนีพยายามจะขึ้นไปทดสอบแนวต้านดังกล่าวเสียแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปสำหรับการเปลี่ยนฐานใหม่ที่สูงขึ้นกว่าเดิม (ตามตำราเทคนิคควรย่ำฐานอีกสักสองสามวัน) นะคะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : ยึดหัวหาด 1,200 จุด

    *หลังจากได้เกริ่นนำเรื่องดัชนีขึ้นมายืนบริเวณ 1,200 จุด..เอาไงต่อ ? ปรากฏว่ามิตรรักแฟนเพลงต่างต่อสายร้อยท่อตรงเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างคับคั่ง ซึ่งมีทั้งในมุมของการขายแหลก..ซื้อแหลก หรือแม้กระทั่งนอนกระดิก..ดีกว่า ก็มีอยู่ไม่ใช่น้อย “โมนิก้า” เลยถือโอกาสนี้บอกเล่าข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำให้แฟนคลับเห็นอาการได้ชัดขึ้นกว่าเดิมพะยะค่ะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : ทะลุ 1,200 จุด..เอาไงต่อ ?

    ดูเหมือนนักเล่นจะออกอาการกระดี๊กระด๊ากันอย่างถ้วนหน้า หลังตลาดหุ้นต่างประเทศพากันบวกเขียวปี๋ พร้อมกับมีความหวังขึ้นมาในทันทีว่า ปัญหาหลายอย่างกำลังได้รับการแก้ไข พร้อมกับมีมาตรการเยียวยาอย่างเต็มที่ ส่งผลให้สถานการณ์รอบด้านดีขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้แรงซื้อไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นไทยอย่างคึกคัก เพราะทุกคนเชื่อว่ารุ่งอรุณของวันใหม่กำลังนำพาสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตแล้วนะคะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : เงินขาดมือ ?

    เริ่มต้นสัปดาห์ใหม่ในช่วงไวรัสมรณะยังแพร่ระบาดหนัก จนทำให้ร้านรวงเจ๊งระนาวกันเป็นแถบ ทำให้เดี๊ยนต้องหันมาเม้าท์เรื่องสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อชี้ให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะหนักหน่วงสุด ๆ ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าแน่ ๆ จึงอยากให้มิตรรักแฟนเพลงดูแลสภาพเงินสดในกระเป๋าให้ดีสุดเท่าที่จะทำได้ และเมื่อผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อดังกล่าวไปได้ น่าจะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นตามหลังมาอีกมากมาย (หวังว่าจะเป็นเหมือนที่คาดการณ์) นะคะ

  • คอลัมน์

    เจาะกระดาน : 1,100 เอาอยู่!

    ทฤษฎีหนึ่งที่ “โมนิก้า” ร่ำเรียนมาเป็นเวลานาน และนำมาใช้กับตลาดหุ้นเป็นประจำ คงเป็นกฎของฟิสิกส์ที่ว่าด้วยเรื่อง “แรงกระแทก” ซึ่งมีการเปรียบเทียบของตกจากที่มีความสูงต่างกัน มักสร้างความเสียหายต่างกันแน่นอน โดยประเด็นนี้สามารถคำนวณได้จากหลักอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุนั้น ซึ่งตอนนี้หนูยังตอบชัด ๆ ไม่ได้ เพราะนิยามของคำว่า “ความเสียหาย” มันกว้างมากเหลือเกิน และมีตัวแปรมากมายนะคุณพี่!

Back to top button