พาราสาวะถี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
เบื้องลึกเบื้องหลังของคำสั่งย้าย จเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แล้วตั้ง นัฑ ผาสุข ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามาทำหน้าที่แทนเป็นสิ่งที่ข้ามหน้าข้ามตา จนข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาฯนัดแต่งดำประท้วง เป็นเหตุให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องใช้มาตรา 44 พลิกคำสั่งเดิมนั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
ฟังคำชี้แจงจาก สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ซึ่งไปร่วมประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศหรือไอพียูที่กรุงเจนีวา โดยอ้างว่ามีการพยายามดำเนินการจากบุคคลผู้ไม่หวังดี เพื่อจะทำลายความน่าเชื่อถือประเทศเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งทางคณะผู้แทนสนช.ได้พยายามแก้ไขโดยชี้แจงกับผู้บริหารของไอพียูจนประสบความสำเร็จ และคงการรับรองสถานภาพของสนช.อย่างเต็มที่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
ประเทศไทยยุคนี้ถูกจับตามองถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และดูเหมือนว่าคนที่อยู่ในอำนาจไม่ว่าจะองค์กรไหน ยังคงใช้ความเป็นคนดี คนเก่งของตัวเองตัดสินใจแทนคนส่วนใหญ่ทั้งหมด กรณีหนังอาบัติที่ถูกห้ามฉาย สุดท้ายต้องเปลี่ยนชื่อเป็นอาปัติและตัดบางฉากบางตอนออกไป เป็นบทพิสูจน์ได้ว่า กรรมการแค่ไม่กี่คนนั้น ฉลาดล้ำกว่าคนทั้งประเทศ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ส่งจดหมายส่วนตัวถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แนะเรื่องการปฏิรูปประเทศไทย ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้การแก้ไขปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่มีประสิทธิภาพ เพราะได้ให้โอกาสนักการเมืองที่เคยกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกหลังพ้นกำหนด 5 ปี
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
หยอดคำหวานตามสไตล์นักการทูต กลิน ทาวเซนต์ เดวี่ส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์หลังการเข้าพบ ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศว่า ปัญหาที่สหรัฐฯจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศรั้งท้ายของสถานการณ์การค้ามนุษย์หรือเทียร์ 3 ว่า เร็วๆ นี้จะมีเจ้าหน้าที่จากสหรัฐฯเดินทางมาพบกับเจ้าหน้าที่ไทยเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาให้สถานการณ์ดีขึ้น ทั้งนี้ เข้าใจว่าไทยให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
งานรำลึก 42 ปีเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 มีคนไปร่วมกันหลากหลายแต่คึกคักเหมือนเดิมหรือไม่ ยังเป็นเครื่องหมายคำถาม หนึ่งในนั้น หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล เป็นตัวแทนของนายกรัฐมนตรีไปร่วมวางพวงมาลาไว้อาลัยแด่วีรชนผู้เสียสละ พร้อมๆกับการกล่าวถึงหลักของประชาธิปไตยที่ไทยควรมี 4 ประการได้แก่ ความสามัคคี ความพอเพียง การไม่ให้ร้ายผู้อื่นหรือการไม่กล่าวเท็จ และการไม่ทุจริตคดโกงประเทศ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
วันนี้ครบรอบ 42 ปีเต็มเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ดูเหมือนว่าเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งนั้น จะกลายเป็นอดีตที่ถูกกลืนและถูกลืมไปเสียแล้ว ในห้วงเวลาที่ประเทศปกครองด้วยอำนาจของคณะรัฐประหาร ขณะที่อดีตนักต่อสู้ที่ถูกเรียกขานว่าคนเดือนตุลาบางรายก็ทำตัวเหินห่างอย่างยิ่งกับสิ่งที่ตัวเองและพวกเรียกว่าอุดมการณ์ ณ เวลานั้น
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
คงไม่ต้องสงสัยกับกระแสข่าวที่ว่าผู้มีอำนาจล้มโต๊ะปรองดอง โดยหันมาเล่นเกมไล่ทุบกลุ่มอำนาจในเครือข่ายระบอบทักษิณแทน เห็นได้ชัดเจนจากการเตรียมใช้คำสั่งทางปกครอง โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมครม.ในการสั่งให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องชำระค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท เท่ากับเป็นการยึดทรัพย์ทางอ้อม
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
ถึงขั้นส่งสารชี้แจงประชาชนถึงแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญกันทีเดียว สำหรับหัวหน้าคสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่เนื้อหาสาระนั้น บางช่วงบางตอนมันชวนให้นึกถึงข้อเรียกร้องของม็อบกปปส. และวาทกรรมของบางพรรคการเมือง เหมือนเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ยยังไงชอบกล เลยทำให้นึกไปไกลว่า เช่นนี้มันจะปรองดองกันได้อย่างไร
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี
เก็บตกความพยายามอธิบายด้วยสารพัดเหตุผลของคนในรัฐบาลว่าด้วยนโยบายซิงเกิล เกตเวย์ จะพบเห็นประเด็นย้อนแย้งหลายประการ เรื่องหนึ่งซึ่งยืนยันจากปากของโฆษกรัฐบาล สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่ออกมาขู่กลุ่มต่อต้านด้วยการบอกว่า สามารถที่จะตรวจหาร่องรอยการชักชวนเพื่อเอาผิดได้ นั่นก็หมายความว่า ข้ออ้างในกรณีความมั่นคงไม่จำเป็นต้องมีซิงเกิล เกตเวย์ก็สามารถใช้กฎหมายอื่นจัดการได้