พาราสาวะถี

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    จะดีใจหรือไม่กับรายงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือสมช.ต่อที่ประชุมครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ม็อบคณะราษฎรอ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการไม่มีกิจกรรมถี่ยิบเหมือนช่วงก่อนหน้าก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะดีขึ้น เห็นได้ชัดจากการจัดชุมนุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ทั้งที่เห็นว่านั่นเป็นการเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงและโดยปกติในอดีตน่าจะมีคนเข้าร่วมน้อย แต่ปรากฏว่ามีคนแห่แหนไปร่วมชุมนุมคับคั่งเหมือนเดิม

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    คดีความที่จะตามมาของม็อบเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้นคงมีอีกเพียบ แต่ปัญหาใหญ่คือหนนี้ไม่มีแกนนำหลัก ฝ่ายความมั่นคงจะเลือกจิ้มดำเนินคดีกับใคร ขณะที่อีกฝ่ายซึ่งออกมาเคลื่อนไหวไม่ต้องถามถึงเรื่องคดีความ แต่คำถามที่ตามมาต่อการขยับของพวกเดียวกันแต่คนละกลุ่มคือ ข้อเสนอให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจชัตดาวน์ประเทศ และให้ผบ.ทบ.ทำการรัฐประหารนั้น ถามว่ามีความผิดหรือไม่ ถ้ายึดตามกฎหมายถือว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองอย่างชัดเจน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ละล่ำละลัก “ขอโทษ” ม็อบไม่หยุดปากสำหรับผู้บัญชาการเหตุการณ์ในวันที่คณะราษฎร 63 เคลื่อนขบวนไปยังเป้าหมายสำนักพระราชวัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ฉีดน้ำแรงดันสูงเข้าใส่ผู้ชุมนุม แน่นอนว่าเป็นปฏิบัติการณ์ที่ไร้การเจรจาใด ๆ ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างชัดเจน ดีที่ว่าไม่ทำให้สถานการณ์บานปลาย เพราะการดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำกับแนวหน้าของม็อบที่เคลื่อนไปเพื่อเจรจาและป้องกันเหตุรุนแรง รวมถึงจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในนั้นก็คือสื่อมวลชนที่ไปรายงานข่าว

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    ลุ้นกันนานกว่าปกติสำหรับผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในรอบนี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากจำนวนผู้ลงคะแนนผ่านไปรษณีย์ที่มีมากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จึงต้องรอกันต่อไป สุดท้ายผู้ที่กำชัยก็ไม่มีพลิกโผเป็น โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ขณะที่ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นอดีตประธานาธิบดี แต่ประสาของคนอย่างทรัมป์แล้ว คงไม่ปล่อยให้คู่แข่งได้ก้าวไปสู่ทำเนียบขาวอย่างราบรื่นแน่นอน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    มีเวลาได้หายใจหายคอไม่กี่วัน วันอาทิตย์นี้ก็มีโจทย์ใหญ่ให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจต้องคิดหนักอีกแล้ว เมื่อคณะราษฎรมีการนัดรวมพลที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเตรียมเดินขบวน เขียนจดหมาย ให้ทุกคนออกมาร่วมกัน ยืนยันว่าประเทศดีได้กว่านี้ และยืนยันใน 3 ข้อเรียกร้องคือ ประยุทธ์และองคาพยพต้องออกไป ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จากประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยประเด็นการเขียนจดหมายที่ว่านั่นแหละที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    วันนี้น่าจะรู้ผลอย่างเป็นทางการสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะเป็น โดนัลด์ ทรัมป์ หรือ โจ ไบเดน แต่แนวโน้มของคะแนนที่ออกมาพบว่าผู้ท้าชิงมีโอกาสจะคว้าชัยอย่างสูงยิ่ง ซึ่งนั่นจะทำให้ทรัมป์กลายเป็นอดีตประธานาธิบดีคนแรกที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งในสมัยที่สองในรอบ 28 ปี นับตั้งแต่ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เคยพ่ายแพ้เมื่อปี 2535 แต่ไม่ว่าใครจะได้เป็นผู้นำมะกัน มันย่อมส่งผลกระทบต่อทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไปทั่วโลก

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    แม้จะบอกว่าเป็นข้อเสนอ “พิลึก” จากปากของ วิษณุ เครืองาม แต่เชื่อได้เลยว่าจะมีความพยายามผลักดันให้สิ่งที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน ชงมาเรื่องห้ามมีการชุมนุมภายในระยะเวลา 2 ปีเพื่อให้รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 เกิดเป็นผลสำเร็จให้จงได้ เพราะในความกังขาของเนติบริกรข้างกายผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจนั้น เปิดช่องไว้ว่า สามารถทำได้ในลักษณะคำถามพ่วงและถ้าพ่วงไปในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็จะไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่ม

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    แสดงให้เห็นธาตุแท้ของขบวนการสืบทอดอำนาจหัวหมอออกมากันอย่างต่อเนื่อง กับข้อเสนอล่าสุดจาก “ซามูไรกฎหมาย” ไพบูลย์ นิติตะวัน ให้ทำประชามติห้ามชุมนุมในช่วง 2 ปีเพื่อให้เวลารัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ถ้าไม่สุดโต่งและหน้าด้านจริงไม่มีความคิดที่น่าสมเพชเช่นนี้ออกมาอย่างแน่นอน ไม่ต้องพูดถึงข้อกฎหมายหรือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญในการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ใด ๆ เพราะคนเหล่านี้สามารถที่จะแถไถและใช้เครือข่ายที่มีโอบอุ้มกันไปได้

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    เขม็งเกลียวกันทุกวินาทีช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กับความท้าทายของคนรุ่นใหม่ในนามกลุ่มบัณฑิตธรรมศาสตร์ของราษฎร ที่ประกาศจะมี “บิ๊กเซอร์ไพรส์” ในวันพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรที่น่าตื่นตระหนก เหมือนกับที่เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังกันอย่างเข้มข้น ทว่าท่วงทำนองเช่นนี้ก็ทำให้เห็นว่าเมื่อมีการขยับเกินธงที่คนส่วนใหญ่ประสงค์คือไล่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจและแก้รัฐธรรมนูญ พลังมันจึงเบาบาง

  • คอลัมน์

    พาราสาวะถี : อรชุน

    จะมีลิ่วล้อหน้าโง่หรือคนโตในรัฐบาลกล้าที่จะเอาบทวิเคราะห์ของสื่อกระบอกเสียงรัฐบาลจีนเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมในประเทศไทย ที่กล่าวหาว่ามีชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง มาสร้างความชอบธรรมต่อการอยู่ในตำแหน่งต่อไปของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจหรือไม่ หากมีใครนำมาขยายความต่อ ก็จะเป็นการรับรองโดยดุษฎีว่า รัฐบาลที่อ้างว่ามาจากกระบวนการประชาธิปไตยนั้น แท้ที่จริงก็มีแนวคิดเผด็จการสุดโต่งนั่นเอง

Back to top button