อรชุน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เขม็งเกลียวกันทุกวินาทีช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กับความท้าทายของคนรุ่นใหม่ในนามกลุ่มบัณฑิตธรรมศาสตร์ของราษฎร ที่ประกาศจะมี “บิ๊กเซอร์ไพรส์” ในวันพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรที่น่าตื่นตระหนก เหมือนกับที่เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังกันอย่างเข้มข้น ทว่าท่วงทำนองเช่นนี้ก็ทำให้เห็นว่าเมื่อมีการขยับเกินธงที่คนส่วนใหญ่ประสงค์คือไล่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจและแก้รัฐธรรมนูญ พลังมันจึงเบาบาง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
จะมีลิ่วล้อหน้าโง่หรือคนโตในรัฐบาลกล้าที่จะเอาบทวิเคราะห์ของสื่อกระบอกเสียงรัฐบาลจีนเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมในประเทศไทย ที่กล่าวหาว่ามีชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง มาสร้างความชอบธรรมต่อการอยู่ในตำแหน่งต่อไปของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจหรือไม่ หากมีใครนำมาขยายความต่อ ก็จะเป็นการรับรองโดยดุษฎีว่า รัฐบาลที่อ้างว่ามาจากกระบวนการประชาธิปไตยนั้น แท้ที่จริงก็มีแนวคิดเผด็จการสุดโต่งนั่นเอง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
การกรีดเลือดกลางสภาของ วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม แต่ก็สะท้อนภาพให้เห็นความขัดแย้งแตกแยกของผู้คนในสังคมได้เป็นอย่างดี และชัดเจนเสียยิ่งกว่าอะไรก็คือ ท่วงทำนองของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจและลิ่วล้อ ที่ทั้งสมน้ำหน้า และเหยียดหยามว่าเป็นการเล่นละครฉากใหญ่ หวังดิสเครดิตฝ่ายกุมอำนาจ นี่แหละที่เขาเรียกว่า อำนาจบังตาทำให้มืดบอดต่อทุกการกระทำของฝ่ายที่เห็นต่าง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ถามว่าประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ 2 วัน มองเห็นทางออกของประเทศได้มากขนาดไหน ในแง่ของการตอบสนองกลุ่มผู้ชุมนุมบอกได้เลยว่าหมดหวัง แต่หากเป็นในส่วนการตอบโจทย์ทางการเมืองของฝ่ายสืบทอดอำนาจก็บอกได้ว่าเป็นไปตามความต้องการ เพราะได้มีเวทีในการยกย่อง เชิดชูผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ ขณะเดียวกันก็เป็นเวทีในการที่จะกล่าวหาโจมตีฝ่ายผู้ชุมนุมและฝ่ายการเมืองที่ถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังอย่างก้าวไกลได้อย่างถูกกฎหมาย
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ผ่านพ้นวันแรกไปแล้วกับการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อหาทางออกของวิกฤติประเทศ ตามที่รัฐบาลได้เสนอเพื่อให้เกิดการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ ฟัง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่ายยาวถึงญัตติที่ขอเปิดประชุม อ้างรัฐบาลไม่อยากให้เกิดจลาจล เชื่อคนไทยรักกัน พร้อมนำพาประเทศไปสู่อนาคตภายใต้กรอบกฎหมาย ที่ต้องขีดเส้นใต้คือ การที่บอกว่าจะสร้างสมดุลทุกฝ่าย เข้าใจทุกอย่างเปลี่ยนไปตามเวลานั้น จริงหรือไม่
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ติดตามกันว่าการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญวันแรกวันนี้ ทิศทางจะเป็นอย่างไร เป็นการถกกันเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศหรือจะซ้ำเติมวิกฤติให้หนักข้อขึ้น จุดเป็นห่วงเมื่อพิจารณาเนื้อหาตามที่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจส่งให้ประธานรัฐสภาคือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันสำคัญของชาติ เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยมีการอภิปรายอันเกี่ยวข้องกับสถาบัน ดังนั้น จึงอยู่ที่ว่าใครจะกล้าอภิปราย แล้วฝ่ายนำเสนอจะหยิบยกกรณีนี้มาเป็นการโจมตี กล่าวหาขบวนการคนหนุ่มสาวอย่างไร
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ถูกนักข่าวถามต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่เวลานี้เครียดหรือไม่ คำตอบที่ได้ยินจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็คือ ไม่เครียด แต่ก็ย้อนแย้งกันอยู่ในที เพราะคำอธิบายต่อมาคือ อยู่มา 5 ปีเครียดจนชินแล้ว แต่นั่นไม่ใช่สาระ เพราะการที่เจอกับแรงกดดันมหาศาลขนาดนี้ใครบอกว่าไม่รู้สึกรู้สาอะไรต้องถือว่าเป็นการโกหกอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนี้ อยู่ที่ว่าผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจจะเลือกใช้วิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรมากกว่า
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ใครจะกล้าปฏิเสธสิ่งที่ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชี้ชวนให้คิดหรือไม่ว่า สังคมไทยในเวลานี้กำลังเดินมาถึงจุดที่ “ไม่อาจจะหวนคืนกลับได้” ปรากฏการณ์ของม็อบดาวกระจาย วิธีการสื่อสารเพื่อใช้นัดหมายและการสื่อสารในระหว่างการชุมนุม รวมไปถึงกระบวนการบริหารจัดการในการชุมนุม หากคนที่ได้เข้าไปร่วมสัมผัสจะรับรู้ได้ว่าทุกอย่างได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เห็นกันอยู่แล้วว่าสถานการณ์การชุมนุมหลังปฏิบัติการสลายด้วยรถฉีดน้ำผสมสารเคมีสีฟ้าเมื่อวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความคึกคักและกระจายตัวกันไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หากฝ่ายรัฐมีปฏิบัติการจิตวิทยา ฝ่ายขบวนการคนหนุ่มสาวก็มีการเล่นกล สับขาหลอก และมากไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมเหมือนกัน ว่าด้วยสถานที่ในการจัดการชุมนุมแต่ละวัน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนฝ่ายความมั่นคงจับทางไม่ถูก หัวปั่นกันเป็นแถว
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
แสดงความดุดันในการแถลงข่าวหลังการประชุมครม.นัดพิเศษเพื่อรับรองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตามมาด้วยการเข้าบุกสลายการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 ในเย็นวันเดียวกันด้วยรถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารเคมี ทำให้ม็อบแตกฮือ ก่อนที่จะประกาศว่าทุกอย่างทำไปตามหลักสากล พร้อมกับเชื่อว่าจะสามารถกำราบกลุ่มผู้ชุมนุมได้ แต่กลับเป็นไปในทางตรงข้าม