อรชุน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เป็นไปตามนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ชื่อ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ไม่ต้องถามว่าทำไมไม่เป็นนักการเงิน การธนาคารหรือนักบริหารมืออาชีพ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากทุกแวดวง เพราะถ้าหาได้ขนาดนั้น คงไม่มีปัญหาคาราคาซังกันมาถึงตอนนี้ การที่ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจเรียกใช้บริการอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยรัฐบาลคสช. ก็เพราะรู้มือกันดี มีโปรไฟล์ที่ไม่ขี้เหร่ ที่สำคัญคือสามารถสนองตอบได้ทุกเรื่องที่ต้องการ
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
กระแสม็อบคนหนุ่มสาวแผ่วจริงหรือไม่ อ่านได้จากการเรียกพรรคร่วมรัฐบาลถกก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ พร้อมกับคุณแหล่งข่าวที่รายงานว่า ท่านผู้นำสั่งให้พรรคร่วมรัฐบาลยกมือโหวตผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 256 ตั้งส.ส.ร.ของพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล โดยห้ามแตะหมวด 1 และหมวด 2 พอเป็นเช่นนี้คนก็ตีความไปถึงว่านี่คือการส่งสัญญาณไปยังส.ว.ลากตั้งที่ตัวเองเลือกมากับมือด้วย
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
เป็นตลกที่ทำให้หัวร่อไม่ได้ ในเมื่อพวกลากตั้งพากันอภิปรายหน้าสลอนตอนที่ประชุมรัฐสภาถก 6 ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างหนาพากันพูดถึง “สภาผัวเมีย” “เผด็จการรัฐสภา” ทั้ง ๆ ที่ตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีมานี้ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการและเผด็จการสืบทอดอำนาจเต็มรูปแบบ เป็น “สภาญาติโกโหติกา” “รัฐสภาเผด็จการ” จนกระทั่งการรวบหัวรวบหางตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญมาศึกษาญัตติก่อนลงมตินี่ยิ่งกว่าเผด็จการรัฐสภาที่พวกตัวเองกล่าวหาเสียอีก
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันนี้ถือเป็นวันสุดท้ายในการทำงานของบรรดาข้าราชการที่จะเกษียณอายุ ที่ถูกจับตามองมาโดยตลอดคงเป็นในส่วนของ พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรงในช่วงปลายอายุราชการ ถูกตั้งคำถามว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีกหรือไม่ สุดท้าย วันวานมีการส่งมอบหน้าที่จากบิ๊กแดงให้กับ “บิ๊กบี้” พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ.คนใหม่ ซึ่งเจ้าตัวประกาศทันทีว่าจะสานต่อทุกภารกิจที่ผู้นำกองทัพบกคนเก่าได้ทำไว้ โดยเฉพาะการค้ำจุนชาติ ราชบัลลังก์
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ยิ่งปฏิเสธยิ่งมัดแน่น ยิ่งบอกไม่ยุ่งคนยิ่งเห็นว่าต้องมีใบสั่ง กับปมที่ประชุมรัฐสภามีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนลงมติ ฟังผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจให้สัมภาษณ์ว่าเป็นเรื่องของสภาไม่เกี่ยวฝ่ายบริหาร และตัวเองในฐานะแต่งตั้ง 250 ส.ว.มากับมือไม่ได้ไปสั่งการอะไร แต่พอฟังสิ่งที่อธิบายมาถึงเหตุผลที่จากเดิมจะลงมติรับหรือไม่รับกลายเป็นตั้งคณะกรรมาธิการศึกษา โดยอ้างว่าเพราะมีการก้าวล่วงกันมากเกินไป
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
กลัวจนกลายเป็นภาพหลอน หรือสั่งสอนกันมาให้เกลียดประชาชนที่เห็นต่างยืนคนละข้างกับเผด็จการสืบทอดอำนาจ มันจึงปรากฏเหตุการณ์ทหาร 3 นายล็อกคอประชาชนที่ไปถ่ายภาพกับป้ายกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ โดยอ้างว่านายสั่งมา สุดท้ายก็จบที่การขอโทษ ความจริงไม่ใช่ประเด็นใหญ่โต แต่สิ่งที่แสดงออกมันทำให้เห็นว่า ใครก็อย่ามาแตะต้องพวกข้า ที่หนักหนาไปกว่านั้นมันจะถูกนำไปขยายผลให้เห็นว่า คนที่มีกำลัง อำนาจกำลังมองประชาชนเป็นศัตรู
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
ผลพวงจากการชุมนุมใหญ่ภายใต้การนำของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 กันยายนที่ผ่านมา ยังคงมีความเห็นที่แตกออกเป็นสองสาย ซึ่งความจริงมันก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ฝ่ายสนับสนุนเผด็จการสืบทอดอำนาจ ก็ย่อมทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะดิสเครดิตและทำลายความชอบธรรมของฝ่ายเคลื่อนไหว ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนก็ยังมองเห็นว่าสิ่งที่เป็นข้อเรียกร้องและการกระทำของขบวนการคนหนุ่มสาวในการชุมนุมหนล่าสุดนั้น ไม่มีอะไรที่อ่อนไหวและน่าเป็นห่วง
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
บอกตั้งแต่วันแรก หลังม็อบยุติสิ่งที่จะตามมาคือคดีความอีกพะเรอเกวียน ที่เห็นดำเนินการทันทีคือกรณีปักหมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 กลางสนามหลวง ทั้งกรมศิลปากร ตำรวจและกทม. ร่วมกันสหบาทาแจ้งความดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 มาตรา 32 ข้อหาบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย ทําลายทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
การประกาศชัยชนะของม็อบที่มีแกนหลักคือแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถือเป็นการกำชัยในแง่ของมวลชน และบรรลุเป้าหมายที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งแกนนำผู้ชุมนุมระบุว่าเป็นการถวายฎีกาผ่านผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ที่ยืนยันว่า จะดำเนินการให้ตามกระบวนการ และให้ผู้ชุมนุมสามารถติดตามความคืบหน้าของเรื่องที่ได้รับไว้ได้ตลอดเวลา ทว่า หลังจากนี้เชื่อว่าจะมีการดำเนินคดีกับแกนนำของผู้ชุมนุมตามมาอีกเป็นพรวน
-
คอลัมน์
พาราสาวะถี : อรชุน
วันพรุ่งนี้ ลุ้นกันม็อบกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะมีจำนวนมากขนาดไหน ชัดเจนคือในส่วนของกำลังตำรวจเตรียมไว้ 9 พันนาย ดูแล 14 จุดทั่วกรุง เน้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนฐานที่มั่นของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจอย่างทำเนียบรัฐบาลนั้น ไม่ต้องห่วง มีการวางกำลังรับมือกันแน่นหนาอยู่แล้ว ที่ยกเอาประเด็นผิดกฎหมายชุมนุมสาธารณะหากเข้าใกล้ทำเนียบฯ ในรัศมี 50 เมตรนั้น…